วันศุกร์, พฤศจิกายน 17, 2560

ซิมบับเว: นอกจากไทยแล้ว ก็มีประเทศแถบแอฟริกานี้แหละ นิยมแก้ปัญหาการเมืองด้วยการรัฐประหาร





ซิมบับเว: นอกจากไทยแล้ว ก็มีประเทศแถบแอฟริกานี้แหละ นิยมแก้ปัญหาการเมืองด้วยการรัฐประหาร


BY SARA BAD
NOVEMBER 15, 2017
Ispace Thailand


ทำความรู้จักประเทศซิมบับเว

ซิมบับเว(Republic of Zimbabwe) ประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนของแถบทวีปแอฟริกา ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีอาณาบริเวณกินพื้นที่กว่า 390,580 ตารางกิโลเมตร ประชากร 16.15 ล้านคน มีเมืองหลวงชื่อกรุงฮาราเรย์ เคยเป็นอาณานิคมประเทศอังกฤษในยุคศตวรรษที่ 19 และเพิ่งได้รับอิสรภาพอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2522 มีรูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เพิ่งจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อายุเพียง 37 ปี เท่านั้น





ปฐมบทประชาธิปไตยประเทศซิมบับเว

ความเป็นประชาธิปไตยประเทศซิมบับเวล้มลุกคลุกคลานมาตลอด ช่วงต้นปฐมบทของประชาธิปไตย มีการเลือกต้งช่วงต้นปี 2522 แต่มีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน จนนำมาสู่ความไม่สงบของประเทศ มีการสังหารหมู่พลเรือนจำนวนมากที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ประมาณการสำหรับจำนวนคนเสียชีวิตในช่วง 5 ปี แรกมีตั้งแต่ 3,750-80,000 คน หลายพันคนถูกทรมานในค่ายกักกันทหาร

การรณรงค์สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2530 หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายคู่ขัดแย้งได้บรรลุข้อตกลงความสามัคคีที่รวมกิจการของตนไว้แล้วสร้าง Zimbabwe African National Union – Patriotic Front (ZANU-PF) กระทั่งมีการเลือกตั้งในเดือน มีนาคม 2533 ส่งผลให้ชัยชนะของพรรค Zanu-PF แต่ไม่วายที่จะมีความขัดแย้งอีกครั้ง

ในช่วงปี 1990 นักศึกษา สหภาพแรงงาน และคนงานอื่น ๆ มักแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นของพวกเขาด้วยนโยบายพรรค Mugabe และ Zanu-PF ในปีพ. ศ. 2539 ข้าราชการพยาบาลและ แพทย์ผู้เยาว์ ได้นัดหยุดงานเรื่องเงินเดือน สุขภาพทั่วไปของประชากรก็เริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ; 2540 โดยประมาณ 25% ของประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวีในระบาดที่กำลังเกิดขึ้นส่วนใหญ่ของแอฟริกาใต้

มีนาคม 2551 ซิมบับเวจัดเลือกตั้งประธานาธิบดี พร้อมกับการเลือกตั้งรัฐสภา ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกระงับไว้เป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า ขบวนการเพื่อประชาธิปไตยเปลี่ยน – Tsvangirai (MDC-T) ได้รับเสียงส่วนใหญ่ของที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร





ปลายปีพ. ศ. 2551 ปัญหาในซิมบับเวถึงระดับวิกฤตในด้านคุณภาพชีวิตสุขภาพของประชาชน (มีการ แพร่ระบาดของอหิวาตกโรค ในเดือนธันวาคม) และปัญหาพื้นฐานต่างๆ

มีเลือกตั้งทั่วไปในประเทศซิมบับเว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2013 ได้โรเบิร์ต มุกูเบะ(Robert Mugabe) เป็นประธานาธิบดี ในระหว่างบริหารเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นและความไม่โปรงใส่ ในเดือนกรกฎาคมปี 2016 การประท้วงทั่วประเทศ เกิดขึ้นในเรื่องการล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยอมรับว่า “ตอนนี้เราไม่มีอะไรเลย”





รัฐประหาร ยาแก้โรคที่ทหารชอบคิดว่าแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ สุดท้ายแก้ปัญหาให้ตัวเอง

สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า กรุงฮาราเร เมืองหลวงของซิมบับเว ตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หลังจากมีทหารออกมาอยู่ทั่วเมือง และยังเข้ายึดสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเอาไว้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน หลังจากประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ แห่งซิมบับเว หัวหน้าพรรคซานู-พีเอฟ วัย 93 ปี กล่าวหาว่า พล.อ.คอนสแตนติโน ชีเวนกา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีพฤติกรรมก่อการกบฏ หลังจากที่พล.อ.ชีเวนกา เรียกร้องให้มูกาเบหยุดการกวาดล้างเจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรค ซึ่งรวมทั้งนายเอ็มเมอร์สัน เอ็มนันแกกวา รองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพล.อ.ชีเวนกา และถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา[1]



นายโรเบิร์ท มูก้าเบ้ วัย 93 ปี ประธานาธิบดีซิมบับเว


ข่าวระบุว่า เพียง 24 ชั่วโมง หลังจากนายพลคอนสแตนติโน ชีเวนกา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขู่ว่า ประกาศจะล้างมลทินให้แก่พรรคพวกที่อยู่ในพรรคซานู-พีเอฟ ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ก็พบเห็นว่ามียานยนต์หุ้มเกราะวิ่งออกมาตามท้องถนนในกรุงฮาราเร ขณะที่พวกทหารซึ่งมีอาการที่แข็งกร้าว บอกให้ผู้ที่ขับรถผ่านไปมาขับรถผ่านความมืดต่อไป อย่าได้พยายามที่จะล้อเล่นอะไร[2]

หลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมง มีทหารบุกเข้าไปในสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์แซดบีซี ของทางการซิมบับเว และเป็นกระบอกเสียงสำคัญของมูกาเบ ก่อนที่ทหารจะสั่งให้เจ้าหน้าที่ของสถานีโทรทัศน์ออกไปข้างนอก อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นถึง 3 ครั้งในกรุงฮาราเร[3]

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทหารออกมาอ้างว่าไม่ได้ทำการรัฐประหารแต่ต้องการสะสางปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่เสื่อมทรามลง ซึ่งสื่อหลายสำนักมองว่าเป็นเพียงการแย่งอำนาจกัน เหตุผลคือ ประธานาธิบดีมูกาเบ้ สั่งปลดรองประธานาธิบดี Mnangagwa เมื่อวันก่อน เพื่อให้คนอื่นขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ด้วยความขัดแย้งกันเองของผู้มีอำนาจทางการเมือง สู่ความพยายามรัฐประหารเพราะมีกองกำลังอยู่ในมือตนเอง เพื่อกลับเข้าไปสู่วงจรอำนาจใหม่ วนอยู่อย่างนี้เป็นวงจรอุบาทว์ จัดสรรผลประโยชน์กันเอง นี้คือรูปแบบสัมบูรณ์ของการรัฐประหารในหลายประเทศ และมักอ้างเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยข้ออ้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเดิมทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลเดิมบริหารประเทศล้มเหลว และความไม่สงบของประเทศ สุดท้ายแล้วข้อสรุปของการรัฐประหารก็เป็นไปเพื่อกลุ่มตนเอง คนที่รับกรรมไปคือประชาชน

ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ที่ประเทศถูกปกครองโดยรัฐบาลทหาร ปกครองประเทศมาแล้วกว่า 3 ปี 5 เดือน ด้วยคำกล่าวอ้างจะคืนความสุขให้คนไทยบ้าง รัฐบาลเก่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นบ้าง บ้านเมืองขัดแย้งวุ่นวายบ้าง ดังนั้นเป็นความจำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาปกครองประเทศเพื่อให้ประเทศอยู่ในสภาวะสันติสุข แต่เห็นหรือไม่ ควาามร่ำรวยไปกองอยู่กับพวกนายทุน เศรษฐกิจของประเทศพังไม่เป็นท่า ด่ารัฐบาลเก่าใชนโยบายประชานิยม แต่ตนเองนั้นประชานิยมมากกว่า เอื้อประโยชน์เอกชนรายใหญ่ ผูกขาดประเทศ เอาสรุปได้เลยว่าสิ่งที่สัญญาไว้ยังทำไม่ได้สักอย่าง

นี้แหละข้ออ้างของผู้นิยมรัฐประหาร

“เข้ามาแก้ปัญหาประชาชน แต่ตัวเองออกไปพร้อมทรัพย์สินมากมาย”



[1] https://www.prachachat.net/world-news/news-71643

[2] เรื่องเดียวกัน

[3] เรื่องเดียวกัน

ooo


นอกจากไทยแล้ว ก็มีแค่ประเทศแถวแอฟริกาเท่านั้นที่ยังมีการลากรถถังออกมาทำรัฐประหาร ล่าสุดก็ซิมบับเว #Zimbabwecoup ทหารกลุ่มหนึ่งลากรถถังมายึดสถานีโทรทัศน์เอาไว้ (ทำเหมือนกันทุกประเทศเลย) ยังอ้าว่าไม่ได้ทำรัฐประหาร (เหมือนประยุทธ์ทีร่บอกว่าประกาศกฎอัยการศึกเฉย ๆ เสือกมีคนเชื่อด้วยแฮะ) เพียงแต่ “ต้องการสะสางปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่เสื่อมทรามลง” แต่เนื้อแท้แล้วเป็นเรื่องการแย่งอำนาจกัน ตาเฒ่าโรเบิร์ต มูกาเบ้ แกสั่งปลดรองประธานาธิบดี Mnangagwa เมื่อวันก่อน เพราะต้องการให้เมียสาวนักช็อปและนักตบ Grace (อายุน้อยกว่ากัน 40 กว่าปี) เป็นผู้นำสืบทอดแทน

สรุปว่าพวกนี้ก็เก่งแต่อ้างว่าเข้ามาเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่แล้วความจริงคือแย่งอำนาจกันเอง บ้านเมืองฉิบหายวุ่นวาย เวียนวนเป็นวงจรอุบาทก์ต่อไป เชื่อสิ ทำไมประยุทธ์ไปงานเลี้ยงที่มะนิลา นั่งข้าง ๆ กับทรัมป์ แต่ทรัมป์กลับไม่เหลียวแลเขา เพราะมันไม่มี “ต้นทุน” “ไร้ค่า” ไง
http://cnn.it/2hseQyv
http://aje.io/kc287


Pipob Udomittipong
ooo

ชวนอ่านต่อ...