วันศุกร์, กรกฎาคม 07, 2560

อวดเก่งอวดดีว่าไม่มีใครรู้เท่า จึงไม่ยอมฟังใคร ไม่รีรอ ‘ผ่อนคลาย’ โหวตผ่านกฎหมายแรงงานต่างด้าวให้เป็น พรบ. ถาวร

จะว่า สนช.ดึงดันก็น่าจะได้มั้ง ลงมติ ๑๗๗ เสียงให้ พรก.บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ผ่านไปเป็นกฎหมายถาวรระดับ พรบ.

อ้างว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตเร็วมาก (พ่อง) จำเป็นต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว เพราะคนไทยไปทำงานลักษณะเชี่ยวชาญกัน (พ่องอีก) เลยขาดแคลนแรงงาน ไร้ฝีมือ

ก็ไหนสถาบันวิจัยต่างๆ ทั้งไทยเทศ รวมทั้งธนาคารโลกและหน่วยงานเศรษฐกิจนานาชาติ ล้วนบอกว่าเศรษฐกิจไทยติดกับชนชั้นกลางไม่แน่ใจอนาคต เลยไม่กล้าจ่าย ไม่กล้าลงทุน แถมชนชั้นสูงขนเงินออกไปลงทุนนอกประเทศ เศรษฐกิจแคะแกร็นไม่ยอมโต

มิหนำซ้ำอุปสรรคปัญหาอยู่ที่ไทยขาดแรงงานฝีมือ (ธนาคารโลกยันหลายหนแล้ว) การศึกษามาสายไม่ทันชาวบ้านเขา แล้วยังเอาค่านิยมบ้าบอมาห่อไว้เป็นข้าวต้มมัด จำกัดการเติบโตของสนมองให้เหลือแค่พอเพียง นั่นต่างหากที่เป็นพื้นฐานความจริง

ไอ้ พรก. (ซึ่งกลายมาเป็น พรบ.) ที่ว่านั้นทำให้เกิดปัญหาปั่นป่วนด้านแรงงานและการผลิต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาล คสช. ผู้เฝ้ารอการขยับตัวเศรษฐกิจขึ้นสักขั้นบันไดอย่างใจจดจ่อ รักษาหน้าว่าสามารถกู้เศรษฐกิจได้ในปีที่สี่ของการยึดอำนาจ เผื่อว่าปีโน้นพรรคการเมืองที่ไม่เคยได้เสียงข้างมากตลอด ๑/๔ทศวรรษที่ผ่านมาจะได้เชิญขึ้นเป็นนายกฯ อีก

บรรดา สนช. ที่เหลืออยู่หลังจากสิบกว่าคนชิงลาออกไปตั้งตัวรอลงสมัคร ส.ส. เล่นการเมืองระบบพรรคเป็นฐานเสียงให้ คสช. ต่ออายุครบ ๒๐ ปี ส่วนหนึ่งมุ่งหวังได้กลับเข้าสภาสูงชุด คสช. แต่งตั้ง ๒๕๐ คนอีก ต่างอภิปรายเห็นชอบต้องมีกฎหมายแรงงานต่างชาติกัน โดยไม่มีใครสักคนพูดถึงประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหา

โทษหนัก ค่าปรับแพงระเบียบการยุบยับเวิ่นเว้อ ที่มีสาวๆ เหมียนหม่าออกคลิปคล้องพวงมาลัยเชือกร้อยบัตรแสประจำตัวชนิดต่างๆ ส่ายเต้นเป็นเพลงล้อเลียนทางการไทยนั่นละ

จะมีก็แต่อธิบดีกรมการจัดหางานเข้าไปแตะถึงประเด็นค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บจากนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ ที่แชร์กันสนั่นบนโซเชียลมีเดียว่าแพงหูฉี่ ครั้งละตั้งสองหมื่น

นายวรานนท์ ปิติวรรณ กล่าวถึงข้อผ่อนคลายที่ทางการไทยประกาศ (รวมทั้งระงับการบังคับ พรก. บางมาตราต่อไปอีก ๖ เดือนจนถึงปีใหม่โน่น) ว่าจะทำให้มีแรงงานจากสามประเทศกลับเข้าสู่ระบบแรงงานอย่างถูกต้องหลายแสนคน

“เมื่อประเทศต้นทางออกเอกสารบัตรประจำตัวหรือซีไอ ที่มีอายุ ๔ ปี ก่อนที่จะนำไปขอวีซ่า และขออนุญาตทำงานภายใน ๑๕ วัน ซึ่งขั้นตอนตามกระบวนการเสียค่าดำเนินการขึ้นทะเบียนประมาณ ๑,๕๐๐ บาท โดยเป็นค่าธรรมเนียมวีซ่า ๕๐๐ บาท ใบอนุญาตทำงาน ๙๐๐”

ทั่นอธิบดีพยายามแก้ปัญหาชาวเน็ตด่าขรมว่าพยายามรีดนาทาเล้นแรงงานเพื่อนบ้าน นอกเหนือจากโดนเจ้าหน้าที่ไทยคอยตบทรัพย์ด้วยแล้ว ยกตัวบทมาชี้แจงว่า “ไม่ใช่หลักหมื่นตามที่พูดกัน”



ก็นี่ราคาแก้ไขออกมาใหม่สำหรับแรงงานที่เป็นปัญหาไม่ใช่หรือ ราคาสองหมื่นนั่นใช้กันมาก่อนหน้านี้น่ะสิ ไม่นับราคากันเองเจ้าหน้าที่ไทยที่ด่านชายแดน ตบหัวละ ๕ พันอีกต่างหาก


นอกจากนั้นยังมีราชกิจจานุเบกษาออกมาเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ระบุถึงค่าธรรมเนียมยื่นขออนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานว่าเพียง ๑๐๐ บาท และ “ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานปีละ ๙๐๐ บาท” นั่นเป็นอัตรากำหนดในราชกิจจาฯ ใหม่ สำหรับแรงงานต่างด้าวตกค้างจะขอทำงานต่อ

ส่วนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ขออนุญาตเข้ามาทำงานแบบอยู่อาศัยชั่วคราว หรือ non-immigrant visa เสียค่าธรรมเนียมยื่นขอ ๑๐๐ บาท บวกค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ๔๕๐ บาท (นอกเหนือจากใบอนุญาต ๙๐๐ บาท)

จะแก้ต่างอย่างไรคงไม่เป็นผลมากนัก ความเสียหายเดือดร้อนมันเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ลิ่วล้อ คสช. จะพอทำได้ก็แต่ลดแรงกระแทกใส่พวกตนให้เพลาลงบ้าง สำหรับพวกหัวๆ โดยเฉพาะหัวแหลมสุดเบอร์หนึ่งเขาเอาตัวรอดไปแล้วว่า “ไม่เห็นมีใครบอกผม”

จะไม่รู้ได้ไง ในเมื่อ ครม. กับ สนช. รับลูกส่งลูกกันอยู่ออกลั่นไป ครั้นเมื่อรัฐบาลประกาศยืดเวลาไม่เอาความแรงงานไม่มีใบอนุญาตออกไป ๖ เดือน สนช. ก็น่าจะใส่ใจว่าเพราะเหตุใด ชาวบ้านไม่ยอมใช่ไหม

ใย สนช. กลับทำตัวเป็น hubris อวดเก่งอวดดีว่าไม่มีใครรู้เท่า จึงไม่ยอมฟังใคร ไม่รีรอ ผ่อนคลายกลับดัน พรก. ออกมาในโฉม พรบ. จนได้ ใครอื่นรายรอบเกิดอลหม่านวุ่นวายก็ชั่งมันมือเสือ