วันจันทร์, กรกฎาคม 27, 2558

บทความวิเคราะห์เรื่อง การบินไทย

บทความโพสต์อยู่ใน Facebook ส่วนตัว: บทความวิเคราะห์เรื่อง การบินไทย


วันนี้ ไปอ่านเรื่องบทความ เกี่ยวกับ การบินไทยว่า ต้องระงับเที่ยวบินสองสาย คือ สายกรุงเทพฯ ไป Los Angeles, California, USA กับ สายกรุงเทพฯ ไป ที่ Rome, Italy ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป

ทางการบินไทยอ้างว่า เส้นทางทั้งสองสาย ประสบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจระงับเส้นเดินทางนี้เสีย
------------------------------------
ในฐานะผู้เดินทางโดยสารการบินทั้งในประเทศและนอกประเทศมาเป็นเวลาอย่างยาวนาน ดิฉันคิดว่า สิ่งที่คนเราต้องการมากที่สุดในการซื้อตั๋วเครื่องบินนั้น ไม่ใช่ "การบริการ" แต่ว่าเป็น ราคาตั๋วว่า เราจะต้อง "จ่ายเงิน" เท่าไร มากกว่าอย่างอื่น

ดิฉันมั่นใจว่า การบริการของสายการบินนานาชาติเกือบทุกสาย (รวมทั้งของการบินไทยด้วย) นั้น แข่งขันกันอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อให้สายการบินของตนเอง เป็น Number One สำหรับลูกค้าให้ได้ ดังนั้น ดิฉันมั่นใจว่า คะแนนน่าจะใกล้เคียงกันมากที่สุด และบุคคลที่ทำงานอย่างหนักนั้น คือตัว Flight Attendants ซึ่งมีหน้าที่ต้อนรับผู้โดยสารนั่นเอง ดังนั้น การให้บริการกับผู้โดยสาร จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

แต่สำหรับผู้โดยสารนั้น "ราคา" มาก่อน และทุกๆ คนก็คาดหวังว่า จะได้รับ "บริการ" อย่างดีที่สุด เพราะตนเองเสียเงินมาแล้วนี่นา...
------------------------------------
สิ่งที่ดิฉันเห็นเป็น Perceptions จริงๆ ของสายการบินในเอเซียตะวันออก และ ตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกสาย จะเน้นถึง ความสวยงาม และ รูปร่างหน้าตาของ Flight Attendants กัน (เป็นต้นว่า "แอร์คนนี้ สวยไหม หน้าตาดีไหม? " ฯลฯ

แต่ถ้าท่านเริ่มเดินทางออกมาทางสายยุโรป หรือ สาย USA แล้ว เรื่องหน้าตาความสวยงาม จะเป็นเรื่องรองไปจาก ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าภายในเครื่องบิน เท่าที่เห็นนั้น Flight Attendants โดยเฉพาะของสายการบินใน USA หลายท่านนั้น มีอายุมาก (40+ ขึ้นไป) แต่ก็ทำงาน มีประสบการณ์เพียบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งเมื่อ ผู้โดยสารมีปัญหาขึ้นมา ไม่ว่า จะเสียงดัง เด็กร้อง การเสริฟเครื่องดื่ม ขายของ หรือแจกอาหารให้กับผู้โดยสาร ฯลฯ

ดังนั้น ศักยภาพและประสบการณ์ของ Flight Attendants จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยของตัวอากาศยาน

 ------------------------------------
กลับมาสู่เรื่องที่เขียนไว้ นั่นก็คือ Bottom Line จริงๆ นั้น มันก็เป็นเรื่อง "ราคาที่ตั้งขาย" กัน

ดิฉันลองสุ่มตัวอย่าง ราคาตั๋วเครื่องบิน ที่บินจาก Bangkok ไปที่ Los Angeles กับ Bangkok ไปที่ Rome, Italy กัน ด้วยการใช้ราคาที่ถูกที่สุดใน Matrix ที่ตั้งไว้

* การเดินทาง ออกจาก กรุงเทพฯ วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เดินทางกลับวันที่ 23 ตุลาคม 2558

* การคำนวณใช้อัตราแลกเปลี่ยน $1 = $34.80 บาท และตั๋วไปกลับอยู่ในชั้นประหยัด (Economy)

* ทำการ Search ราคาจากเวปของ Kayak กับ Orbitz เพื่อเอามาเปรียบเทียบ จากนั้น ใช้เวปของ Orbitz เพราะมีสายการบินไทยอยู่ ราคา search คิดเป็น US Dollars ทำการ search เวลาประมาณ เที่ยงคืนครึ่งของวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2558 (คำนวณเป็นเวลาของประเทศไทย)

* กำหนดวันเดินทาง ก่อนที่การบินไทยจะยกเลิกเส้นทางทั้งสองดูว่าจะเป็นอย่างไร (End date ก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2558)

* การ search ราคา ระยะเวลาวันนี้ ถึงวันสมมติการเดินทาง (3 ตุลาคม 2558)  เป็นเวลาห่างกัน 70 วัน

------------------------------------

เส้นทางที่หนึ่ง -> ตั๋วไปกลับ จาก กรุงเทพฯ ไป Los Angeles, California, USA

(รูปใหญ่อยู่ที่นี่: Bangkok to Los Angeles)

http://s27.postimg.org/g6t6gjo4z/Bangkok_to_Los_Angeles.png
Bangkok to Los Angeles
ดิฉันลองเปรียบเทียบราคา ของสายการบิน Korean Airlines มาอยู่ที่ $870.99 (30,311 บาท) และการบินไทยอยู่ที่ $1,409.99 (48,975 บาท)

อย่างไรก็ตาม ราคาตั๋วแพงกว่าเกือบหนึ่งเท่าตัว และ การใช้เวลาการเดินทางก็พอๆ กัน แตกต่างไม่เกิน 1 ชั่วโมง และเดินทางออกนอกประเทศที่เดียวกัน Transit ที่ Incheon ใน South Korea แห่งเดียวกัน

ขากลับก็ออกจาก Los Angeles มาถึงกรุงเทพฯ วันเดียวกัน แต่คนละเวลา (การบินไทย ถึงก่อนเที่ยงวัน เพราะออกเดินทางก่อน แต่ Korean Airlines ถึงก่อนเที่ยงคืน เพราะเดินทางออกจาก Los Angeles ทีหลัง)

------------------------------------

เส้นทางที่สอง -> ตั๋วไปกลับ จาก กรุงเทพฯ ไป Rome, Italy

(รูปใหญ่อยู่ที่นี่:  Bangkok to Rome, Italy)

เนื่องจาก การเปรียบเทียบของการบินไทยนั้น ไม่มีเครื่องไปลงที่ Istanbul, Turkey ดังนั้น ดิฉันเลยนำราคาของสายการบินสามสายมาเปรียบเทียบกัน

http://s29.postimg.org/abhjcpw9z/Bangkok_to_Rome.png
Bangkok to Rome, Italy
สายการบิน Alitalia ของ Italy ให้ราคาตั๋วอยู่ที่ $877.09 (30,523 บาท) สายการบิน Turkish Airlines ให้ราคาอยู่ที่ $1,117.50 (38,889 บาท) แต่ดิฉันจะไม่ใช้ราคานี้ เพราะว่า การต่อเครื่องจาก Istanbul ไป Rome นั้น ต้องรอไปถึง 10 ชั่วโมง เลยเอาแบบแพงกว่านิดหน่อย แต่ใช้เวลาต่อเครื่อง 2 ชั่วโมงเศษๆ ราคาอยู่ที่ $1,195.50 ( 41,604 บาท)

--------------------------------

Updated: แก้ไขข้อมูล เพราะคิดว่า ราคาตามรูปที่ลงไว้นั้น อาจจะเป็น code-shared flight เพราะเวปของการบินไทย ไม่มี Flight ดังกล่าว

ราคาตั๋วในเวปการบินไทย อยู่ที่ $1,409.99 หรือ (48,975 บาท)

การเดินทางไป Rome, Italy นั้น ราคาของบริษัทการบินไทย แพงกว่าของสายการบิน Alitalia เกือบ 2 เท่าตัว และแพงกว่าสายการบินของ Turkish Airlines ของ Turkey นิดหน่อย

ถึงแม้จะมีความสะดวกในเรื่องขากลับ คือเป็น non-stop flight ก็ตาม แต่เมื่อเทียบราคากันแล้ว สายการบินอย่างเช่น Alitalia นั้น ได้เปรียบมากๆ

------------------------------------

ถ้าเราเห็น Matrix ที่โพสต์ไว้ข้างบน ในการเปรียบเทียบราคาของสายการบินต่างๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า การบินไทย อยู่ในระดับที่ "ค่อนข้างแพง" ในเรื่องของราคา เมื่อท่านเดินทางไปยังจุดหมายเดียวกัน มีสายการบินไม่กี่สาย ที่แพงกว่า การบินไทย

และถ้าลองไปเปรียบเทียบราคาชั้น Business แล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันสูงขึ้นมาอีกกว่าหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับชั้นประหยัด

------------------------------------

ดิฉันทราบว่า เมื่อมีการดูงานในต่างประเทศแล้ว ส่วนใหญ่จะต้องเดินทางโดยสายการบินไทยทั้งสิ้น เงินที่เสียไปนั้น ก็เท่ากับราคาค่าตั๋วที่เราเห็นกันอยู่

เคยได้ยินบางท่านกล่าวว่า เงินจะได้หมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย เพราะเราใช้บริการของสายการบินไทยกัน แต่ดิฉันไม่เข้าใจเกี่ยวกับระบบข้าราชการไทยว่า ทำไมจะต้องจ่ายราคาค่าตั๋วแบบแพงลิบลิ่วกัน

เมื่อตัวดิฉันเองเดินทางในฐานะพนักงานของรัฐบาลกลาง (Federal Employee of the United States) นั้น เขาจะเลือกสายการบินที่ราคาถูกที่สุด และใช้ชั้นประหยัดให้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม เพื่อสอดคล้องในงบประมาณที่เราได้รับกัน เพราะแทนที่จะเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นไปในเรื่องการเดินทาง งบประมาณเหล่านั้น สามารถนำมาช่วยในการปรับปรุง ในการเพิ่มค่าจ้างของเราได้

แต่ขนาดการบินไทยได้รับเงินอุดหนุนระดับนี้ ก็ยังขาดทุนกัน นั่นก็แสดงว่า ปัญหาเรื่องหนึ่ง (ย้ำว่า เป็นปัญหาหนึ่งนะคะ ไม่ใช่ทั้งหมด) คือ ตั้งราคาไม่ถูกต้องตามกลไกของตลาด คือ (ต้องตั้งราคาที่สามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นๆ ได้) รวมไปถึง perception ของสายการบินเอง ที่มีต่อประชาชนทั่วไป ดังนั้น บุคคลที่ใช้บริการต่างๆ ก็เลยแห่ไปใช้ สายการบินคู่แข่ง หรือพวก Low Cost Airlines กัน เพื่อลดต้นทุนของตนเองและสามารถมีเงินใช้จ่ายในกระเป๋าเพิ่มขึ้น

ถ้าการบินไทยจะสู้กับสายการบินต่างประเทศแล้ว ต้องคิดแบบ Global ค่ะ ว่า จะสู้กันด้วยวิธีใด และต้องพยายามแก้ไข Perception ที่ปรากฎอยู่ตามสาธารณะด้วย เพราะการเป็นสายการบินของชาตินั้น ชื่อองค์กรของท่านจะเข้ามายุ่งในเรื่องการเมืองที่แบ่งขั้วกันไม่ได้เลย

บางครั้ง ท่านก็ควรจะลองคิดดูนะคะว่า Silence is Golden เพราะการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะทางสาธารณะในนามขององค์กรนั้น มันจะไปกระทบภาพพจน์ต่างๆ อย่างแน่นอนค่ะ