วันเสาร์, เมษายน 25, 2558

ไม่อยากพูดให้ช้ำใจ แต่ต้องเอามาย้ำให้เห็นว่า ประเทศนี้ไม่มีหรอกการต้านคอรัปชั่น





ไม่อยากพูดให้ช้ำใจ แต่ต้องเอามาย้ำให้เห็นว่า ประเทศนี้ไม่มีหรอกการต้านคอรัปชั่น
.................

ตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ทำโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรวมทั้งรถไฟฟ้าความเร็วสูง นั้นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ต่อต้านคอรัปชั่น ได้ออกมากันหน้าสลอน


สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการกู้เงินดังกล่าวทำไม่ได้ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปิดฉากโดยรัฐประหาร 22 พฤษภา 57

ล่าสุด โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกลับมาอีกครั้ง โดยเริ่มจากเส้น กรุงเทพ-เชียงใหม่
ดู
รถไฟเร็วสูง "เชียงใหม่" ทำแน่ "3 เจ้าสัว" แบ่งลงทุน3เส้นทาง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429693274

"มิตรสหายท่านหนึ่ง" ได้ให้ความเห็นว่า
....
น่าสังเกตว่า ราคาแพงขึ้นอีก 5 หมื่นล้าน ไม่มีการออก พรบ. เงินกู้มาควบคุมการใช้จ่ายเงินในโครงการ และไม่มีกระบวนการตรวจสอบตามระบบ แถมบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามารับงานนี้ก็เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงเรื่องการทำธุรกิจผูกขาดด้วย

มหกรรมคอร์รัปชั่น แดกหัวคิว ไม่มีอะไรการันตีว่าจะสร้างเสร็จ สุดท้ายอาจมีแต่รางเก่าๆ ทิ้งไว้เหมือนโฮปเวล

แน่นอนว่า คนที่บอกว่าถ้าทำโครงการแล้วจะเป็นหนี้ไปชั่วลูกชั่วหลาน หายไปหมด

Thanapol Eawsakul 


ooo

ภาพจากมติชน

ไม่ต้าน "ทุนนิยมสามานย์" กันแล้วหรอครับ? แล้วนี่เปิดประมูลกันแล้วหรอพี่? อยู่ดีๆควงนายทุนไปแบ่งเค้กกันเรียบร้อย ลื้อเอาสายไหน อั้วเอาสายไหน? ไม่ต้องฮั้วประมูลด้วย เพราะแบ่งกันตั้งแต่ต้น แบบนี้ทำได้หรอครับ? ไม่ผลประโยชน์ทับซ้อนหรอ? ไม่เอื้อกลุ่มทุนพวกพ้องหรอครับ? แล้วอีมูลนิธิต้านคอรัปชั่น หรือมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด ไม่ออกมาคัดค้านกันแล้วหรอครับ? เลิกตรวจสอบกันแล้วหรอ?

ศาสดา

ooo

เอกชนดัง! ซีพี-ไทยเบฟฯ-บีทีเอส รุมลงทุนไฮสปีดเทรน





ที่มา มติชนออนไลน์

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งได้นำพันธมิตร 2 บริษัท คือ บริษัท ซิทิก คอนสทรัคชั่น จากฮ่องกง และบริษัท ไห่หนาน จากประเทศจีน เข้าแสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงินเบื้องต้น 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ทางบริษัทจะเดินหน้าศึกษาข้อมูลการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในวันที่9พฤษภาคม2558

"ตอนนี้ยังไม่ได้ให้ซีพีก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางนี้ แต่ให้ไปศึกษาเท่านั้น และยังเปิดให้โอกาสบริษัทเอกชนรายอื่นด้วย คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะทราบวงเงินลงทุน รวมถึงบริษัทไหนจะได้ดำเนินการในเส้นทางนี้" พล.อ.อ.ประจินกล่าว และว่า สำหรับการศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะดำเนินการหลังนำเสนอโครงการเข้า ครม.แล้ว คาดว่าใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน รัฐบาลต้องการให้เอกชนไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ แต่เปิดโอกาสให้หาผู้ร่วมทุนจากต่างชาติได้ ขณะนี้มีเอกชนไทยจำนวน 3 ราย ได้แสดงความสนใจ คือ เครือซีพี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ที่สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส สนใจเดินรถไฟทางคู่ เส้นทางขอนแก่น-มาบตาพุด คาดว่าจะมีเพียง 3 ราย โดยทั้งหมดได้จับกลุ่มกับผู้ร่วมทุนต่างชาติ และแต่ละบริษัทเตรียมแหล่งเงินทุน กลุ่มผู้บริหาร และผู้รับเหมาไว้พร้อมหมดแล้ว นอกจากนี้บริษัท สตาร์ แบก จากประเทศเยอรมนี ได้เข้าพบเพื่อแสดงความสนใจลงทุนโครงการรถไฟเส้นทางรถไฟจากสตูล-สงขลา

ooo