วันศุกร์, มิถุนายน 30, 2560

‘แบล็คฮ้อว์ค’ ๔ ลำ ๓ พันล้านนี่ไม่เหมือน ‘เอดับเบิ้บยู ๑๓๙’ นะ ไม่ติดคดีสินบน ไม่ต้องรอชิ้นส่วนซ่อมบำรุง

เรื่องของ ฮอ’ (Up or Down) ‘แบล็คฮ้อว์ค ๔ ลำ ๓ พันล้านนี่ไม่เหมือน เอดับเบิ้บยู ๑๓๙ นะ ไม่ติดคดีสินบน ไม่ต้องรอชิ้นส่วนซ่อมบำรุง

คราวนี้ ผบ.ทบ.แจงเอง อันนี้เรื่องเก่าติดค้างกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลโอบาม่าโน่นแน่ะ ตอนนั้นประยุทธ์และพวกยึดอำนาจยิ่งลักษณ์ รัฐบาลสหรัฐก็เลยระงับโครงการจัดซื้อแบล็คฮอร์คหนึ่งฝูง ๑๖ ลำเอาไว้ก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงจุดยืนประชาธิปไตย ไม่คบเผด็จการ

ตอนนั้นส่งมอบกันแล้ว ๑๒ ลำ ยังขาดอีกสี่ที่ค้างเติ่งมาจนถึงสมัยทรั้มพ์ ซึ่งเดินนโยบายต่างประเทศนอกลู่ ไม่สนเรื่องสิทธิมนุษยชน (ห้ามผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ) ไม่สนทางปฏิบัติของกระทรวงต่างประเทศ ตั้งตาลบล้างผลงานของรัฐบาลที่แล้วท่าเดียว การโทรศัพท์ถึงประยุทธ์ชวนไปเที่ยวกรุงวอชิงตันก็เลยติดปลายนวมมาด้วย

รายการช้อปปิ้งอาวุธอเมริกาที่พูดถึงกันตอนนี้จึงเป็นเพียง ‘jester’ ของรัฐบาลทรั้มพ์แบะท่าว่าเดี๋ยวนี้โอบไหล่ คสช.ได้ไม่แคร์ว่าเป็นเผด็จการ จึง “ได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว เครื่อง” ในขอบข่ายของโครงการ ขายอาวุธให้แก่ต่างประเทศ (Foreign Military Sales) ธรรมดา

ไม่ใช่ “การช่วยเหลือทางทหาร” เป็นพิเศษอะไรอย่างที่ คสช. อยากให้คนไทยเข้าใจ จะพิเศษก็คงตอนจ่ายเงิน เนื่องจาก “ทยอยซื้อตามการจัดสรรงบประมาณปี ๖๐-๖๒” ผูกพันสามปี ปีละพันล้านขนหน้าแข้งไม่ร่วง


มันต่างกับโครงการจัดซื้อเฮลิค้อปเตอร์ผลิตในอิตาลี ที่เป็นข่าวหลุดออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่าซื้อมาจอดไว้เฉยๆ สองลำ ซึ่งความจริงส่วนใหญ่ถูกเปิดโดยสำนักข่าวอิศราว่า

โครงการนี้แท้จริงเป็นการจัดซื้อ ฮอทั้งหมด ๑๒ ลำ ด้วยวิธีการ พิเศษที่เจ้ากรมขนส่งทหารบกมีหนังสือถึงบริษัท Augusta Westland ของอิตาลีให้ได้โปรดมาเสนอราคาให้ทัพบกไทยพิจารณาหน่อย


การซื้อขายสองลำแรกรุ่น AW 139 สองลำ ราคา ๑,๓๕๐ ล้านบาท เมื่อต้นปี ๕๗ เกิดปัญหาเล็กน้อย ไม่ใช่ว่าวงเงินสูงกว่าควร ๑๒๐ ล้านบาทนะ แต่เป็นเรื่อง “ส่งของล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญา ครั้ง -๒๕๕ วัน” ตามด้วยปัญหา “ข้อขัดข้องในการเคลมชิ้นส่วน" อีกในปี ๕๘

นั่นเรื่องจิ๊บจ้อย เพราะทุกวันนี้ทัพบกมีฮอสัญชาติอิตาลีของบริษัทออกัสต้าประจำการครบแล้ว ๑๒ ลำ โดยเป็นรุ่น เอดับเบิ้ลยู ๑๓๙ สิบลำ รุ่น เอดับเบิ้ลยู ๑๔๙ อีก ๒ ลำ

สิบลำหลังนี่ซื้อในระหว่างปี ๕๙-๖๐ ผ่านมาราบรื่นดี ถ้าไม่เกิดเสียงนินทาว่า ไรวะ ฮอใหม่จอดไว้เฉยๆ บินไม่ได้ ซ้ำร้ายที่บินไม่ได้น่ะ ไม่ใช่แค่สองลำตามที่มี ข่าวหลุด

ปรากฏว่าทั้งสิ้น บินไม่ได้ ๕ ลำ ล้วนแต่เป็นรุ่น AW 139 ซึ่งสามในห้าลำนั้น รอชิ้นส่วนเลยไม่ได้บิน อีกสองลำได้บินแล้วแต่เข้าโรงซ่อม

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วสำนักข่าวอิศราถามโฆษกทัพบกว่า “สรุปแล้วมีการจัดซื้อ เฮลิคอปเตอร์ AW 139 ทั้งหมดกี่ลำ ใช้งานได้กี่ลำ และมีกระแสข่าวว่ากำลังจะจัดซื้อเพิ่มอีก ลำ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

พ.อ.วินธัย สุวารี ตอบไม่เต็มคำ “ปัจจุบันมีทั้งหมด ลำ เป็นของกองทัพบก ลำ และเป็นของสำนักนายกรัฐมนตรีอีก ลำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบกด้วย” ทั่นโฆฯ คงไม่นับที่จอดคาโรงเก็บและที่รอซ่อมมั้ง

ส่วนกระแสข่าวว่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มอีก ลำ นั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด


วิญญูชนย่อมกังขา เอ๋ บริษัทผลิตยุทโธปกรณ์อิตาลีนี่เกรดไหน ยูเครนหรือจีน ก็ได้สำนักข่าวอิศราอีกน่ะแหละที่ทำข่าวสืบสวน ไปขุดคุ้ยหาว่าบริษัทออกัสต้า เวสต์แลนด์ น่ะรุ่นไหน

พบว่าเคยเป็นบริษัทร่วมหุ้นอิตาลี-อังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๓ มาเป็นของอิตาลีล้วนในปี ๒๕๔๗ แล้วยังไปร่วมหุ้นกับบริษัทเบลและนอร์ทรอปกรัมแมนของอเมริกา พลาดได้สัญญาผลิตเฮลิค้อปเตอร์ มารีนวัน สำหรับประธานาธิบดีอเมริกันเมื่อปี ๕๖ เพราะเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น

อิศราอ้างข่าวรอยเตอร์ว่า “นายบรูโน่ สปานยอลินี่ ประธานกรรมการบริหารของ Agusta Westland ถูกเจ้าหน้าที่อิตาเลียนจับกุมพร้อมด้วยนายจูเซปเป้ ออร์ซี่ ประธานบริษัทแม่ ด้วยข้อหาคอร์รัปชันกรณีทำสัญญาซื้อขายเฮลิคอปเตอร์รุ่น AW101 จำนวน ๑๒ ลำ กับกองทัพอากาศอินเดีย


โดยมีการกล่าวหาว่ามีการติดสินบนเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนเกือบ ,๖๐๐ ล้านรูปี” (แต่รอยเตอร์ว่าแค่ ๔๐ ล้านรูปี ส่วน India today บอก ๑๖ ล้านยูโร)

เรื่องนี้ลงเอยว่า “ศาลอิตาลีตัดสินจำคุกนายออร์ชี่และนายสปานยอลินี่เป็นเวลาสองปี เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๐๑๖ (๒๕๕๙)

ส่วน “นายทยากี ผู้ดำรงตำแหน่งบัญชาการกองทัพอากาศ (อินเดีย) ณ ขณะนั้น เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นนี้” ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนกลางของอินเดีย (ซีบีไอ) เข้าจับกุมเมื่อปลายปี ๒๕๕๙ เช่นกัน

นั่นเป็นเบื้องหลังใต้ผิวของบริษัทผลิตเฮลิค้อปเตอร์อิตาลี ที่ทัพบกไทยอุตส่าห์ส่งจดหมายเชิญมาร่วมเสนอขายฮอหนึ่งฝูง ที่ซื้อมาแล้วใช้การไม่ได้ครึ่งหนึ่ง

ทัพบกไทยซะอย่าง เรื่องแบบนี้ทั่นโฆฯ บอกได้ทันใด “ไม่ทราบรายละเอียด”