วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 16, 2560

อ่านหนังสือชี้แจงข้อเท็จมายังไอลอว์ กรณี “เจ็ด สนช. ที่ขาดประชุมบ่อยจนอาจสิ้นสภาพ” (ครับ "รัฏฐาธิปัตย์" เขาว่าทำอะไรก็ไม่ผิด)






ที่มา FB

iLaw

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2560 ไอลอว์ เผยแพร่บทความ 6 ชิ้น เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บนเว็บไซต์ www.ilaw.or.th โดยแต่ละบทความนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ สนช. ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เห็นที่มาที่ไป บทบาทหน้าที่ และการทำงานในเวลาสองปีที่ผ่านมา ของ สนช.

หลังจากเผยแพร่ บทความเรื่อง “เจ็ด สนช. ที่ขาดประชุมบ่อยจนอาจสิ้นสภาพ” ซึ่งเป็นการสำรวจการเข้าประชุมของสมาชิก สนช. โดยไอลอว์ได้เลือกสมาชิก สนช. 8 คน พบว่ามี สมาชิก 7 คน ลงมติไม่ถึงเกณฑ์ตามที่ข้อบังคับการประชุม สนช. กำหนด คือ ให้สมาชิกต้องมาลงมติอย่างน้อย 1 ใน 3 ของทุกรอบ 90 วัน ทำให้สมาชิกทั้ง 7 คน อาจจะสิ้นสมาชิกภาพ เว้นแต่ ได้ยื่นใบลาต่อประธานสภา โดยไอลอว์ได้ติดต่อขอข้อมูลการยื่นใบลาของสมาชิกแต่ละคนจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แต่ได้รับการแจ้งว่า "ข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางราชการ"

(ดู เนื้อหาของบทความ “เจ็ด สนช. ที่ขาดประชุมบ่อยจนอาจสิ้นสภาพ” ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4409)

ประเด็นการขาดประชุมของสมาชิก สนช. ได้ถูกสื่อมวลชนแขนงต่างๆ นำไปขยายต่อจนเกิดการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ความคุ้มค่าของค่าตอบแทนจากภาษีประชาชน รวมทั้งจริยธรรมในการทำงาน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ทาง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ส่งหนังสือชี้แจงข้อเท็จมายังไอลอว์ โดยมีสองประเด็น คือ

1) ประเด็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพของ สนช.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ชี้แจงว่า การพิจารณาว่า สมาชิก สนช. ได้มาปฎิบัติหน้าที่หรือไม่อาจพิจารณาเฉพาะการลงมติในที่ประชุมเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาจากการมาลงชื่อเข้าร่วมประชุมด้วย โดยเฉพาะการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของสภาที่จะต้องมีการอภิปรายของสมาชิกอย่างละเอียดรอบคอบก่อนลงมติ จึงอาจมีสมาชิกบ้างท่านที่ไม่สามารถอยู่พิจารณาจนถึงขั้นลงมติได้ เนื่องจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละท่านในบางช่วงเวลา ทำให้จำเป็นต้องลาการประชุมในช่วงเวลาที่มีการลงมตินั้นๆ

ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ยืนยันว่า สมาชิก สนช.ทั้ง 8 ท่าน ได้ลาการประชุมถูกต้องตามระเบียบ และทุกท่านได้มาปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างเต็มความสามารถ

2) การรับเงินได้รับค่าตอบแทน

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ชี้แจงว่า การได้รับค่าตอบแทนของแต่ละตำแหน่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนการปฏิบัติหน้าราชการของแต่ละท่าน ก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน

...

@ครับ"รัฏฐาธิปัตย์"เขาว่าทำอะไรก็ไม่ผิดเพราะอยู่เหนือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เปรียบเสมือนเป็นเทวดาแต่ขี้เหม็นเหมือนมนุษย์ แล้วประชาชนต้องทนดูโจรกบฎแบบ สงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธหรือครับ??????

มิตรสหายท่านหนึ่ง

ooo