วันพุธ, มกราคม 25, 2560

3 ช่างภาพวอนถนอมธรรมชาติไว้ให้ลูกหลาน ชี้โรงไฟฟ้าถ่านหินทำลาย เผยชุมชนมีความงามหลากมิติ





3 ช่างภาพวอนถนอมธรรมชาติไว้ให้ลูกหลาน ชี้โรงไฟฟ้าถ่านหินทำลาย เผยชุมชนมีความงามหลากมิติ


ที่มา สำนักข่าวชายขอบ 
http://transbordernews.in.th/home/?p=15809
21 มกราคม, 2017

ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2560 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ มีกิจกรรมประเทศไทยในสัญญาปารีส :”ถ่านหิน-ไฟฟ้า-ทรัพยากร” โดยมีนิทรรศการภาพถ่าย ‘พื้นที่ชีวิต-พื้นที่ไม่มีชีวิต’ และนิทรรศการภาพวาดจากศิลปินและบุคคลทั่วไปหลายกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อีกทั้งมีเวที Photo talk ‘ชีวิตของพื้นที่’ เล่าชีวิตผ่านเลนส์โดย 3 ช่างภาพมืออาชีพ ประกอบด้วย วันชัย พุทธทอง เมืองเท่ชื่อเทพา เริงฤทธิ์ คงเมือง เมืองแม่เมาะ-กระบี่ศิรชัย อรุณรักษติชัย โลกใต้น้ำทะเลอันดามัน นายวันชัย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มานาน ตนใช้เวลาในการเก็บภาพถ่ายและเรื่องเล่าหลายมุมมองของชุมชน ที่ประทับใจคือการถ่ายธรรมชาติในจังหวัดสงขลา ที่อดีตเคยมีช้างแคระ ซึ่งเดิมอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าและป่าพรุรอบๆ ทะเลสาบตอนบน ช้างชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะอย่างช้างทั่วไป แต่ขนาดเล็กกว่า ลำตัวสูงประมาณควายป่าคุ้นเคยกับสภาพน้ำกร่อยและหนองน้ำในทุ่งหญ้าริมทะเล หรือภูมิประเทศแบบกึ่งป่ากึ่งน้ำเป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านเล่าว่าเมื่อก่อนอยู่ในชุมชนรอบทะเลน้อย (ช่วงต้นของทะเลสาบสงขลา คาบเกี่ยวอยู่กับ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา) แต่ตอนนี้คือหายไปบางส่วนเชื่อว่ามันถูกล่าจนสูญพันธุ์ บางส่วนเชื่อว่าอพยพหนีการล่าย้ายป่าไปอยู่ที่ฝั่งมาเลเซีย แต่นั่นก็เป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า แต่เทพา จังหวัดสงขลานี่ จริงๆแล้วมีเรื่องน่าสนใจจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่น่าประทับใจกว่านั้น นั่นคือ เรื่องตลาดเก่าร้อยปี ที่ชาวบ้านสูงอายุ ยืนยันว่าบรรยากาศเหมือนเดิมและอยากเชิญชวนให้คนภายนอกได้เข้าไปสัมผัส





“ผมเก็บภาพถ่ายของตลาดร้อยปีไว้ และมีหลายช่วงเวลามากๆ ความสวยงามของคนเทพา ไม่ได้แค่ธรรมชาติสวย วิวดี แต่มันเชื่อมโยงกันถึงคุณค่าของคนในชุมชนด้วย อย่างตลาดร้อยปีมีปลา มีผลไม้ มีพืชขาย มันสะท้อนว่าอุดมสมบูรณ์ คือทะเลก็มีอาหาร บนบกก็มีอาหาร แบบนี้ คือ วิถีชีวิตมันมีเรื่องเล่า ดังนั้นผมเชื่อว่าเทพามีอะไรน่าสนใจและควรเก็บรักษาไว้ อย่าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเลยถ้าเรายังรู้สึกว่าความสวยงามของคน ของธรรมชาติมันมีค่า” นายวันชัยกล่าว นายวันชัย กล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่คุ้นเคย คือ เรื่องของหาเคย ที่มีเทศกาลลุนกุ้งเคย ตนเคยตื่นนอนตอนเช้าแล้วเห็นคนไปนอนเฝ้าหาดตั้งแต่เช้ามืด ชาวประมงบอกว่าการทำเคยของเทพา ทำเคยแบบปลอดสารพิษ คนทำเคยคือล้างกุ้งจากน้ำทะเลได้ เป็นการพึ่งพาธรรมชาติที่มีและวิถีชีวิตนี้เรียบง่ายรายได้จากการทำเคยก็ช่วยให้ครอบครัวพออยู่พอกินดังนั้นวิถีชีวิตเหล่านี้ควรอนุรักษ์ไว้ และตนไม่อยากให้เป็นเพียงภาพถ่ายบันทึกความทรงจำเท่านั้น แต่อยากให้ถูกดำเนินไปในเหตุการณ์จริงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวสู่รุ่นหลัง





นายเริงฤทธิ์ กล่าวว่า หลายครั้งที่ได้ลงพื้นที่ไปถ่ายพื้นที่ทะเล ป่าชายเลน ของจังหวัดกระบี่ มากกว่าภาพทะเลสวย หาดทรายงามที่ดึงดูดการท่องเที่ยวแล้วยังพบว่าทะเลของกระบี่มีพื้นที่เป็นแรมซาร์ไซส์ มีป่าชายเลนที่อยู่ในอ่าวพังงาเป็นทีแหล่งอนุบาลของสัตว์หลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังค้นพบข้อมูลระหว่างถ่ายภาพด้วยว่าหินบางกลุ่มเป็นซากฟอสซิลของหอยขมก่อนการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศ ซึ่งหมายถึงเมื่อก่อนบางพื้นที่ของกระบี่เป็นน้ำจืดแต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นป่าชายเลน เป็นทะเล ซึ่งหลักฐานชิ้นสำคัญ คือ ฟอสซิล อีกทั้งยังมีถ้ำสวยงามมากมายที่สวยงามให้นักท่องเที่ยวไปชม “ช่วงหนึ่งผมเคยไปถ่ายภาพเหยื่อเหมืองแร่ ภาพมันออกมาทางหดหู่ เพราะเราเห็นความเจ็บป่วย แต่พอไปกระบี่ เรายังไม่เจอภาพแบบนั้น และไม่อยากเจอ ไม่อยากบันทึกความเศร้า เลยคิดว่าควรเก็บกระบี่ไว้เพื่อให้มันถ่ายทอดเรื่องราวสวยงามต่อไปจะเหมาะกว่าและยืนยันว่าถ่านหินไม่มีประโยชน์” นายเริงฤทธิ์ กล่าว ด้านนาศิรชัย กล่าวว่า จากประสบการณ์ดำน้ำถ่ายภาพปะการังและศึกษาทัศนียภาพใต้ทะเล ทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ ยืนยันว่าประเทศไทยมีความสมบูรณ์ดี ครั้งหนึ่งบังเอิญไปเจอหมึกกระดองอาศัยอยู่ในแนวปะการัง รู้สึกประทับใจมาก เคยมีเพื่อนต่างประเทศที่มาดำน้ำดูด้วยกันเขาก็เห็นด้วยกับภาพปะการังที่สวยงามของประเทศไทยและอยากจะชื่นชมโลกใต้ทะเล ดังนั้นต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้ถ้ามีอะไรมาทำลายแล้วจะสร้างสิ่งใหม่มาทดแทนได้ ดังนั้นเชื่อว่าถ้าคุณเห็นว่าภาพถ่ายสวยงามแล้ว ไปเห็นภาพจริงจะสวยงามยิ่งกว่า เพราะโลกใต้ทะเลมีมากมายให้เรียนรู้





ooo

ผูกขาด ประโยชน์ทับซ้อน ในไฟฟ้าไทย

Credit: ฮาริ บัณฑิตา




หยุดถ่านหินกระบี่ was live.
January 21 at 1:03pm

ช่วงเสวนา 1

วงเสนา 1
"ผูกขาด ประโยชน์ทับซ้อน ในระบบไฟฟ้าไทย"
​​ร่วมเสนาโดย
ผศ.ประสาท มีแต้ม​​​ ระบบไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรมคืออะไร?​
คุณวันชัย มีศิริ ​​​​ระบบสายส่งกับพลังงานหมุนเวียน​​
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล​​ โซล่าเซลล์กับทางออกด้านพลังงานไฟฟ้า ​​
อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ​​ดำเนินรายการ​


---------------
วงเสวนา 2
"โลกคิดยังไงกับถ่านหิน"
​​ร่วมเสนาโดย
​​ดร.อาภา หวังเกียรติ​​โลกคิดอย่างไรกับถ่านหิน
​​ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์​​ต้นทุนชีวิตที่ไม่เคยถูกคิดจากถ่านหิน
​​คุณศุภกิจ นันทวาระการ​ข้อตกลงปารีสกับการจัดการพลังงานของไทย
​​ดร.สมพร ช่วยอารีย์​ ​ผลกระทบต่อระบบนิเวศจากถ่านหิน
​​คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์​ดำเนินรายการ

งานประเทศไทยในสัญญาปารีส
"ถ่านหิน-ไฟฟ้า-ทรัพยากร"
20-21 มกราคม 60

#หยุดถ่านหิน