วันเสาร์, มิถุนายน 27, 2558

ออกหมายจับตอนหมดเวลาราชการ เอาลูกหลานตัวเองเข้าไปนอนในคุกตอนเสาร์อาทิตย์ เอาศาลทหารมาเล่นงานพลเรือน มันวิปริต มันวิตถาร



ออกหมายจับตอนหมดเวลาราชการ จะเอาลูกหลานตัวเองเข้าไปนอนในคุกตอนเสาร์อาทิตย์นี่ เอาศาลทหารมาเล่นงานพลเรือน มันวิปริต มันวิตถาร นอกจากประเทศเผด็จการเต็มใบและเผด็จการทหารเมื่อ 30-40 ปีก่อนแล้ว ยังมีประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ไหนเอาศาลทหารมาใช้กับพลเรือนบ้าง จะอ้างสถานการณ์ไม่ปรกติไปจนลูกเมิงบวชเลยหรือ อายเขาบ้างมั้ย คนทั้งโลกมองกันว่าคุณเป็นผู้ใหญ่รังแกเด็ก เด็กสิบกว่าคน คุณจัดการด้วยระบบยุติธรรมตามปรกติไม่ได้ นายทหารพระธรรมนูญมีหน้าที่ไล่จับเด็ก มากินกาแฟแถวสวนเงินมีมา มากำกับการแสดงของตำรวจที่สน.ปทุมวัน มันยิ่งกว่าขี่ช้างไล่จับตั๊กแตนอีก http://bit.ly/1Lzb1Sm

The Military Court has just issued arrest warrants against 14 students including seven members of the Dao Din group. Their alleged crime was their peaceful protest against the Thai military dictatorships. If the arrests take place today, as the official have started to charge and apprehend the students, it is likely they will spend the weekend in jail remanded, since no bail application can be done in time (due to the days off). No modern democracies use military court with civilians, except very few of them and in very few kinds of offences. But since after the 2014 coup, the Military Court has often been used to stifle dissent and to allow secret and arbitrary detention and summary trial and sentencing.

“The use of military courts, which lack independence and fail to comply with international fair trial standards, to try civilians has also increased. Three days after seizing power, the NCPO issued its 37th order, which replaced civilian courts with military tribunals for lese majeste offenses, crimes against national security, and sedition. Military courts have tried hundreds of people, mostly political dissidents and those violating NCPO orders, since the coup”.
http://www.hrw.org/news/2015/05/22/thailand-deepening-repression-one-year-after-coup


Pipob Udomittipong



ooo


นักศึกษานอนคุก!

ที่มา เพจ ประชาไท 

00.20 น. ผู้สื่อข่าวแจ้งว่า ศาลอนุญาตให้ฝากขังนักศึกษาและนักกิจกรรมทั้ง 14 รายเป็นเวลา 12 วัน โดยทนายคัดค้านคำร้องขอฝากขังแต่ไม่เป็นผล และกำลังจะนำตัวผู้ต้องหาไปยังเรือนจำ ผู้ชาย 13 คนไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือ ลูกเกด ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงเพียงคนเดียวจะถูกส่งตัวไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง

ทั้งนี้การฝากขังผลัดแรกจะครบในวันที่ 7 ก.ค.
...


จุดเทียน-ร้องเพลง ส่งเพื่อนเข้าคุก





เพจ ประชาไท
00.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนและนักศึกษาที่รออยู่ด้านหน้าศาลหลักเมือง หลังทราบข่าวว่า ผู้ต้องหาทั้ง 14 คนจะถูกส่งตัวไปเรือนจำ ก็ได้ร่วมกันจุดเทียน ร้องเพลงแสงดาวแห่งศรัทธาและบทเพลงของสามัญชน ระหว่างที่รถห้องขังกำลังจะนำผู้ต้องหาทั้งหมดออกจากศาลทหารสู่เรือนจำ

นอกจากนี้มวลชนยังมีการตะโกนว่า "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" เป็นระยะ


ทั้งนี้ ศาลอนุญาตให้ฝากขังนักศึกษาและนักกิจกรรมทั้ง 14 รายเป็นเวลา 12 วัน โดยทนายคัดค้านคำร้องขอฝากขังแต่ไม่เป็นผล และกำลังจะนำตัวผู้ต้องหาไปยังเรือนจำ ผู้ชาย 13 คนไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือ ลูกเกด ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงเพียงคนเดียวจะถูกส่งตัวไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง

การฝากขังผลัดแรกจะครบในวันที่ 7 ก.ค.

ooo


มาทำความรู้จักศาลทหาร


เพจ ประชาไท

เหตุผลที่อ้างว่าต้องมีศาลทหาร
1.หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
2.ความเป็นระเบียบวินัยของทหาร
3.ความสงบเรียบร้อย รวดเร็ว เด็ดขาด
.
สังกัด
-กระทรวงกลาโหม
.
ประเภทของศาลทหาร
1.ศาลทหารในเวลาปกติ
2.ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ **ขณะนี้ท่านอยู่ที่นี่**
3.ศาลอาญาศึก
.
ลักษณะของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
-บุคคลที่ต้องถูกพิจารณาจะเป็นทั้งทหารและพลเรือน ที่กระทำความผิดในคดีอาญาที่มีการประกาศให้ต้องขึ้นศาลทหารเพิ่มเติมในเวลาไม่ปกติ
.
การแต่งตั้งถอดถอนตุลาการศาลทหาร
1.กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน ตุลาการศาลทหารสูงสุดและศาลทหารกลาง
2.ผู้บังคับบัญชาทหารและรัฐมนตรีกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนตุลาการในศาลทหารชั้นต้น
.
คุณสมบัติตุลาการ
1.”ตุลาการพระธรรมนูญ” ต้องเป็นนายทหารสัญบัตร จบนิติศาสตร์
2. “ตุลาการ” เป็นนายทหารสัญบัตร มียศสูงหรือเท่าจำเลย ไม่ต้องจบนิติศาสตร์
.
สัดส่วนผู้พิพากษา
ชั้นต้น = ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย+ตุลาการ 2 นาย **ท่านอยู่ที่นี่**
ชั้นกลาง=ตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย+ตุลาการ 3 นาย
ศาลทหารสูงสุด = ตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย+ตุลาการ 2 นาย
.
วิธีการพิจารณาความ
1.การควบคุม
-ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งควบคุมตัว “บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหร ที่กระทำผิดคดีอาญาทั้งที่อยู่ และไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารได้ 90 วัน (กำลัพยายามให้อำนาจนี้ใช้กับการควบคุมตัว “พลเรือน” ได้ด้วยในร่างแก้ไข **ท่านกำลังจะอยู่ที่นี่**)
.
2.การสอบสวน
-สอบสวนโดยนายทหารพระธรรมนูญหรืออัยการทหาร รวมทั้งนายทหารสัญบัตรอื่นๆ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
-ไม่ถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะเขตพื้นที่
.
3.การฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
-อัยการทหารเท่านั้นที่จะป็นโจทก์ได้
-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อัยการทหารเรียกร้องให้คืนทรัพย์หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐบาลเท่านั้น
.
4.การพิจารณาคดี
-จำเลยแต่งทนายู้คดีในศาลทหารได้ ยกเว้นศาลอาญาศึก
-พิจารณาลับหลังจำเลยได้ ถ้าจำเลยรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง
.
5.การอุทธรณ์/ฎีกา
-อุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะศาลทหารในเวลาปกติ ฉะนั้น เวลานี้เป็นศาล
-ทหารในเวลาไม่ปกติจึงไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้ **ท่านอยู่ที่นี่**
ผู้มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาคือ คู่ความ ภายใน 15 วัน และผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการหรือผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ ภายใน 30 วัน

(ขอบคุณข้อมูลจากสาวตรี สุขศรี)

อ่านรายละเอียดเข้มข้นได้ที่ http://www.prachatai.com/journal/2015/03/58472