วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 21, 2558

เรื่องราวของ ‘ทอม ดันดี’ ฝรั่งเศส ปรีดี เสื้อแดง และมาตรา 112 - องค์กรสิทธิมนุษยชน FIDH และ UCL เรียกร้องแก้ ม. 112



ที่มา ประชาไท

Wed, 2015-05-20

ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม

ทอม ดันดี เป็นนักร้องที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ช่วงหลังเขาเงียบหายไปจากหน้าสื่อ จนกระทั่งพบเห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์อีกครั้งตอนร่วมกิจกรรมกับคนเสื้อแดง ล่าสุด เราพบเขาในสื่อบ่อยขึ้น ในสถานะของผู้ต้องหาคดีฝ่าฝืนคำสั่งไม่รายงานตัวกับ คสช. และหมิ่นสถาบัน มาตรา 112

วิกิพีเดียบอกว่าชื่อ ทอม ดันดี นั้นมีที่มาจากหนังเรื่องอินเดียน่าโจนส์และเมืองในสกอตแลนด์ แต่เจ้าตัวบอกว่าจริงๆ แล้ว อ.เสก แห่งวงซูซูเป็นคนตั้งให้ มาจากหนังเรื่อง Crocodile Dundee เนื่องจากตัวเอกของเรื่องชื่อ ดันดี มีบุคลิกทะลึ่งตึงตังและสาวๆ เยอะ .. คล้ายกัน

นอกจากการเป็นนักร้องนักแสดงแล้ว เรื่องตลกร้ายที่สร้างชื่อให้เขาเป็นที่จดจำอีกอย่างเห็นจะเป็นถุงยางยี่ห้อ “ทอม ดันดี” กลิ่น ลีลาวดี ซึ่ง อย.ไม่อนุญาต กรมศาสนาคัดค้าน กระทรวงวัฒนธรรมไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าชื่อนี้ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีไทยและอาจยั่วยุให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น

ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคมนี้ ทอม ดันดี มีอายุครบ 57 ปี สองวันก่อนหน้านี้เขาไปศาลทหารในนัดตรวจสอบพยานหลักฐาน เขาให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและเตรียมต่อสู้คดี หลังติดคุกมาแล้วเกือบ 11 เดือน ศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 4 ส.ค.นี้และพิจารณาเป็นการลับ นั่นเป็นคดีแรก

คดีที่สองมาเยือนเขาในเดือนที่ 8 ในเรือนจำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางเข้าไปแจ้งคดี 112 เพิ่มอีกหนึ่งคดี ทั้งสองกรณีเกิดจากการปราศรัยของเขา 2 ครั้งในปลายี 2556 แล้วมีการเผยแพร่เป็นคลิปวิดีโอในยูทูป ปอท.นำมาดำเนินคดีหลังรัฐประหาร ตอนแรกคดีของเขาถูกพิจารณาที่ศาลอาญา แต่นัดต่อมามันก็ถูกโอนมายังศาลทหาร

“มันคงต้องยอมรับสภาพที่เกิดมาเป็นคนของประชาชน” ทอม ดันดี ในชุดนักโทษกล่าวในวาระวันเกิดของเขา ก่อนเดินขึ้นรถผู้ต้องขังกลับเรือนจำพร้อมด้วยกุญแจมือ

หากถามว่าเขาเริ่มเข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างไร ความคิดทางการเมืองของเขามาจากไหน อาจต้องย้อนไปถึงวัยเด็กของเขา

“ผมน่าจะเป็นส่วนผสมของทั้งสองคน” เขากล่าวถึงอิทพลของพ่อและแม่ที่อยู่ในตัวเขา พ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี มีความคิดทางการเมืองแบบก้าวหน้าและเคยร่วมเป็นแพทย์เสรีไทย ส่วนแม่มีอาชีพเป็นนางละคร

เขาเล่าว่าชีวิตในวัยเด็กของเขายากลำบาก เนื่องจากพ่อแม่มีลูกถึง 11 คนและเขาค่อนข้างเกเรจึงไม่ค่อยได้รับการดูแลมากนักเขาจึงเลือกใช้ชีวิตเร่ร่อนผจญโลกภายนอกเสียมากกว่าอยู่กับครอบครัว จนโตเป็นหนุ่มจึงได้ทุนรัฐบาลไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1986 ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 6 ปีเต็ม เขาเข้าเรียนในวิทยาลัยซึ่งคล้ายๆ กับ ปวช.-ปวส.บ้านเรา วิชาที่เรียนคือ ภาษา ดนตรี ถ่ายภาพ ควบคู่กัน

ระหว่างเรียนเขาทำงานไปด้วยหลายอย่าง เคยเป็นผู้จัดการร้านน้ำหอม เป็นไกด์และล่ามให้ทูตพาณิชย์ สอนพิเศษภาษาฝรั่งเศสให้คนไทยที่นั่น กลางคืนเล่นดนตรีที่ร้านอาหาร กระทั่งชกมวยโชว์ให้สถานทูต เพราะเขาฝึกมวยที่ค่ายผุดผาดน้อย วรวุฒิ ซึ่งเป็นค่ายมวยไทยในฝรั่งเศส

ห้วงยามนั้นเป็นช่วงท้ายๆ ของชีวิต ‘ปรีดี พนมยงค์’ พอดี เขาได้เจอปรีดีในปี 1981 ก่อนหน้าปรีดีจะเสียชีวิตเพียง 2 ปี จากการได้ทำงานกับสถานทูต เป็นประธานปฏิคมต้อนรับนักศึกษาไทยในฝรั่งเศส เขามีโอกาสได้ไปรับประทานอาหารที่บ้านของปรีดีและรู้จักสนิทสนมกับลูกของปรีดีบางคน ได้สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์กับท่านผู้หญิงพูนศุข เขาเล่าว่านักเรียนไทยหลายคนไปมักรวมตัวที่นั่นและเล่นดนตรีด้วยกัน ตัวเขาเองยังเคยได้เรียนปรัชญาดนตรีกับลูกคนหนึ่งของปรีดี

เมื่อกลับมาเมืองไทยเขาเข้าสู่วงการดนตรี และได้มีโอกาสเป็นนักร้องนำวงซูซูจนได้ออกอัลบั้มของตัวเอง เรียกว่าช่วงนั้นเป็นช่วงพีคของชีวิต โดยเฉพาะกับผู้คนในต่างจังหวัดซึ่งเขายังคงมีเวทีคอนเสิร์ตในจังหวัดต่างๆ เสมอมา

เขาเริ่มเข้าสู่พื้นที่การเมืองจริงจังในช่วงปี 2553 ก่อนสลายการชุมนุม และตัดสินใจขึ้นเวที นปช.ด้วย ก่อนหน้านี้เขามีทัวร์คอนเสิร์ตราว 20-25 ครั้งต่อเดือน รายได้บางเดือนเกือบ 3 ล้านบาท แต่หลังออกตัวทางการเมือง แทบทั้งหมดก็ถูกแคนเซิล

“เรามองดูอยู่ ประชาชนเดือดร้อนเรื่องประชาธิปไตย ปากท้อง ความเป็นธรรม บุญคุณของประชาชนข้าวชามน้ำจอกที่ได้รับมา ได้อยู่ดีกินดีมีเงินใช้แบบนี้ก็เพราะประชาชนทั้งนั้น เลยตัดสินใจออกมาขึ้นเวที” ทอมกล่าว

“นาฬิกาไม่ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ราคา มันขึ้นอยู่กับว่าเดินตรงกันไหม คุณเป็นใคร มาจากไหนไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณมีความยุติธรรมอยู่ในตัวหรือไม่ พฤติกรรมคือคำตอบเหนือสิ่งอื่นใด” ก็เขาอีกนั่นแหละที่กล่าว

การสลายการชุมนุมในปีนั้น ดูเหมือนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเต็มตัว ข้อมูลจากภรรยาที่ดูแลเขาในขณะนี้ระบุว่าในปี 2554 ทอม ดันดี เน้นการเดินสายพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยร่วมขบวนไปกับคนอื่นๆ ที่ทำเรื่องหมู่บ้านเสื้อแดง แต่หลังจากนั้นในปี 2555 เขาตัดสินใจออกจากกลุ่มเนื่องจากปัญหาความโปร่งใสทางการเงินของแกนนำบางส่วน แล้วอาศัยเดินสายด้วยตัวเอง

“ปี 54 นี่เดินสายต่างจังหวัดเยอะมาก แทบไม่ได้กลับบ้านเลยทั้งปี พี่ทอมไปอบรม พูดคุยกับชาวบ้านเรื่องประชาธิปไตย เรื่องความสำคัญของสหกรณ์อะไรพวกนี้ คนอื่นในทีมก็พูดเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองบ้างอะไรบ้าง แต่ตอนหลังแกนนำหลักบางคนมีปัญหาเรื่องเงิน เราเลยแยกออกมา เริ่มเดินสายเอง ออกเงินเองหมด แต่เราไม่ค่อยมีเงินเลยไม่ได้ไปบ่อย เวลาจะไปไหนทีก็นั่งรถทัวร์กันไปสองคน” ภรรยาของเขากล่าว

ทอมระบุว่าเหตุที่เดินสายต่างจังหวัดเพราะต้องการพบปะแลกเปลี่ยนกับประชาชนในชนบทให้มากที่สุด เพื่อบอกว่าพวกเขากำลังถูกเอาเปรียบ

“บ้านเรามีทรัพยากรสมบูรณ์ ทำไมประชาชนยังจนอยู่ ทำไมไม่โอกาสดีๆ บ้าง ใครเอาเปรียบเรา และใครที่ให้โอกาสเรา” ทอม ดันดีกล่าว

ปลายปี 2553 เขาถูกเครือข่ายราษฎรอาสาป้องกันสถาบันร้องเรียนกับดีเอสไอให้ดำเนินคดีกับเขาจากกรณีปราศรัยที่จ.ราชบุรี ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าเข้าข่ายหมิ่นฯ แต่คดีนี้ดูเหมือนเงียบไป

หลังจากเคลื่อนไหวหนักๆ และขาดรายได้จากวงการบันเทิง ทอม ดันดี ผันตัวมาเป็นชาวไร่เต็มรูปแบบเหมือนสมัยยังเล็ก เขาได้รับที่ดิน 30 กว่าไร่ที่บ้านเกิดหลังพ่อเสียชีวิต เขาปลูกพืชหลายอย่าง หน่อไม้ มะนาว มะม่วง กล้วย มะพร้าว มะปราง หมาก ฯลฯ อาศัยรายได้จากสวนเพื่อยังชีพ

“เขาทำเอง เก็บเอง ขายเอง ตอนช่วงไปชุมนุมบ่อยๆ ก็เอาไปขายด้วย ขึ้นเวทีเสร็จก็ลงมาขาย มะนาว หน่อไม้ มะม่วง” ภรรยากล่าว

หลังการรัฐประหารครั้งล่าสุด 22 พ.ค.2557 ทอม ดันดี มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่ คสช.เรียกรายงานตัว เขาอยู่ในไร่ บ้านไม่มีทีวี ทำให้ทราบเรื่องช้า เมื่อรู้ข่าวก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ทหารว่าจะไปรายงานตัววันรุ่งขึ้น แต่แล้วก็ถูกบุกจับกุมตัวก่อนและถูกสอบสวนหนัก โดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเขาอาจเกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม (อ่านรายละเอียดที่ ทอม ดันดี: จดหมายระบายความในใจ-การถูกจับกุม) จากนั้นเขาถูกคุมตัวที่กองปราบหลายวันก่อนส่งตัวเข้าเรือนจำ คนอื่นที่ไม่รายงานตัวและถูกจับไล่เลี่ยกับเขาล้วนได้รับการปล่อยตัว แต่เขาถูกคุมขังและไม่ได้ประกันตัวจนปัจจุบันเนื่องจากเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาตามมาตรา 112

ช่วงแรกเขามีอาการตึงเครียดจนกระทั่งค่อยๆ ปรับสภาพกับความแออัดและมาตรฐานชีวิตในเรือนจำได้

“เขาเป็นนักสู้ เป็นศิลปินเพื่อชีวิตคนเดียวในประเทศไทย นอกนั้นไม่ใช่ เขายืนหยัดในความเป็นเพื่อชีวิตโดยไม่เปลี่ยนแปลง จริงๆ เขาควรได้เป็นศิลปินแห่งชาติด้วยซ้ำ” สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบก.นิตยสาร Red Power ผู้ต้องหาคดี 112 ที่อาศัยอยู่แดนเดียวกันกล่าวถึงทอม

“เขาเป็นที่พึ่งพาของนักโทษคนอื่น เป็นคนตลกโปกฮาลามก คิดถึงแต่เมียทุกวัน” อีกหนึ่งคำจำกัดความที่สมยศมอบให้เขา

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในเรือนจำ ดูเหมือนมุขตลกของเขาจะลดลงเรื่อยๆ เสียงหัวเราะมีเพียงประปราย แทนที่ด้วยความขรึมและเคร่งเครียดจริงจัง จนกว่าจะถึงวันสืบพยานนัดแรก 4 ส.ค.และบทสุดท้ายของคดีนี้

“ในอนาคต ผู้คนคงพากันงงว่า ทำไมถึงมีคดีแบบนี้เกิดขึ้นได้ในสังคม” ทอม ดันดี กล่าว

ooo

ตามข้อมูลของ FIDH องค์สิทธิยักษ์ใหญ่ของโลก ก่อนรัฐประหารมีนักโทษ ‪#‎คดีหมิ่นฯ‬เหลืออยู่แค่ห้าคน หลังรัฐประหารเพิ่มขึ้นเป็น 18 คน โทษจำคุกตั้งแต่คนละหนึ่งถึง 50 ปี ตำรวจไทยบอกว่ามีคดีที่รับแจ้ง 204 คดี มีผู้ต้องสงสัยถูกควบคุมตัวหรืออยู่ระหว่างการสอบสวน 128 คนรวมทั้งคนไทยที่ลี้ภัยต่างแดน 30 คน ผลกระทบไม่เกิดขึ้นเฉพาะคนที่อยู่ในคุก แต่ครอบครัวของเขาด้วย AFP สัมภาษณ์อย่างน้องสองครอบครัวที่ถูก “ตราบาป” เพราะญาติต้องคดีหมิ่นฯ ถึงกับย้ายบ้านหนีเพื่อนบ้านก็มี ลูกของนักโทษคดีหมิ่นฯ หางานทำไม่ได้ก็มี มันเป็นความแปลกประหลาดอันขมขื่น ทั่วโลกใส่ใจ แต่คนไทย/สื่อกลัวที่จะอภิปราย http://bit.ly/1JzdKJw

แถลงการณ์ของ FIDH Thailand: Unprecedented number of lèse-majesté detentions call for urgent reform of Article 112 http://bit.ly/1EWpmzI

Pipob Udomittipong


ooo

Thailand: Unprecedented number of lèse-majesté detentions call for urgent reform of Article 112 

Picture from AFP

20 May 2015
Source: FIDH Website

Paris, Bangkok, 20 May 2015: In the first 12 months under the rule of the National Council for Peace and Order (NCPO), Thailand experienced an unprecedented number of lèse-majesté detentions, FIDH and its member organization Union for Civil Liberty (UCL) said today.

“Unless the NCPO promotes an urgent reform of Thailand’s lèse-majesté law, Thai jails will be increasingly populated by individuals who have merely exercised their fundamental rights to freedom of opinion and expression,” said FIDH President Karim Lahidji.

According to research conducted by FIDH, since the junta seized power on 22 May 2014, at least 47 individuals have been detained under the draconian Article 112 of the Criminal Code. [1]Eighteen people have been sentenced to prison terms ranging from one to 50 years, for a combined total of 159 years - an average of eight years and eight months each. In most cases, defendants saw their sentences halved because they pleaded guilty to the charges.

Article 112 of the Thai Criminal Code states that “whoever defames, insults or threatens the King, the Queen, the Heir to the throne or the Regent shall be punished with imprisonment of three to 15 years.”

Prosecutions under Article 112 are likely to continue at a steady pace in the coming months. On 25 April 2015, police said that there were 204 active lèse-majesté cases, of which 128 were under investigation. Authorities are also set to target lèse-majesté suspects beyond Thailand’s national borders. On 21 March 2015, junta-appointed Minister of Justice Gen Paiboon Koomchaya said the military-backed government would seek the extradition of 30 Thais living in exile who have been charged under Article 112.

FIDH and UCL urge the authorities to end lèse-majesté prosecutions of individuals who exercise their fundamental rights to freedom of opinion and expression. The two organizations also urge the authorities to immediately and unconditionally release all individuals imprisoned under Article 112 for having exercised their rights to freedom of opinion and expression.

“Protection of the monarchy must not impinge on the rights of individuals to freedom of opinion and expression. It’s time for the NCPO to heed the numerous UN recommendations for reform and bring Article 112 in line with international law,” urged UCL Chairman Jaturong Boonyarattanasoontorn.

Various UN human rights bodies have repeatedly called on Thailand to amend Article 112 and ensure that it complies with the country’s obligations under international human rights treaties, such as the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), to which Thailand is a state party. In the latest statement by a UN official, on 1 April 2015, UN Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression David Kaye expressed concern over the increasing arrests and detentions under Article 112 and called for an end to the criminalization of dissenting opinions.

Press contacts:
FIDH: Mr. Arthur Manet (French, English, Spanish) - Tel: +33 6 72 28 42 94 (Paris)
UCL: Mr. Jaturong Boonyarattanasoontorn (Thai, English) - Tel: +66890571755 (Bangkok)