วันอังคาร, เมษายน 21, 2558

ภาพแต่งงานของหนุ่มสาวทิเบตคู่นี้กลายเป็น “ไวรัล” ชั่วข้ามคืน... กลับไปหา “รากเหง้า” หรือ แค่ "เพื่อถ่ายรูปสวย ๆ"




ภาพแต่งงานของหนุ่มสาวทิเบตคู่นี้กลายเป็น “ไวรัล” ชั่วข้ามคืน รายงานระบุว่า 80% ของผู้ใช้งาน wechat ในจีนได้ดูภาพเหล่านี้ (ประมาณ 400 ล้านคน) Xinhua ยังเอาไปทำเป็นข่าวหลัก ทั้ง ๆ ที่จีนกับทิเบตมีปัญหาความสัมพันธ์กันมาตลอด และทางการจีนมักกดดันไม่ให้แสดงอัตลักษณ์ที่เป็นทิเบต

เหตุใดเน็ตติเซ็นในจีนจึงมีความเห็นค่อนข้างบวกกับการแสดงอัตลักษณ์พื้นเมืองของหนุ่มสาวทิเบตคู่นี้? Phuntsok 31 ปีเจ้าบ่าวซึ่งแต่งกับ Dawa Drolma 27 ปีเจ้าสาวเมื่อ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา และมีเชื้อสายทิเบตทั้งคู่บอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน แต่คิดว่าเป็นเพราะภาพแต่งงานของเขาที่มีทั้งภาพขณะใช้ชีวิตในเมือง ทันสมัย สลับกับภาพที่พวกเขาลงทุนไปถ่ายในชนบทของลาซา เมืองหลวงของทิเบต ถ่ายในกระโจมของชนเผ่าเร่ร่อน น่าจะสะท้อนภาพของหนุ่มสาวจำนวนมากในจีนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์และเข้ามาตามหา “แสงนีออน” ในเมือง พวกเขาต้องการกลับไปหา “รากเหง้า” ของตัวเองอย่างภาคภูมิใจ

“เป็นตัวของตัวเองดีที่สุด” ขอให้เป็นกำลังใจสำหรับคนที่มีอัตลักษณ์แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ครับ

ปล. บางภาพเป็นการถ่ายในเมืองไทยด้วย

ดูภาพอื่น ๆ ในชุดนี้ http://www.zhangzishi.cc/20150410zh.html

ข่าวจาก Xinhua http://news.xinhuanet.com/english/2015-04/15/c_134154267.htm

ข่าวจาก BBC http://www.bbc.com/news/blogs-trending-32353687

Pipob Udomittipong


ความเห็นจากเวปบางส่วน...


กอบัว สีบุญเรือง... ไม่รู้ทำไมคิดถึง "ฉันอยากไปเป็นชาวนา" ของคุณอุ้ม
หรือหนังสือ aday หลายๆเล่มที่นำเสนอชาวต่างชาติที่ทิ้งชีวิตทันสมัย มาเป็นชาวสวนชาวไร่ในไทย

หนุ่มสาวทิเบตคู่นี้ มาเลี้ยงไก่เลี้ยงล่อ ได้แค่ตอนถ่ายภาพเท่านั้นแหละค่ะ

เอาเข้าจริง ไม่มีใครอยากทิ้งชีวิตที่หรูหราสะดวกสบายมาทำไร่ไถนา

ทำไร่ไถนา คงไปเป็นชาวลอนดอนเนอร์ ไม่ได้

คนที่จะทำได้คือ รวยมากๆแล้วบอกว่าตัวเองพอเพียง แค่นั้นแหละค่ะ

ความเห็นส่วนตัวของบัวคือ รากเหง้าอยู่ที่ความคิด หาใช่เครื่องแต่งกายและฉากที่เสริมแต่งไม่

นี่ก็จะเป็นไวรัลหนึ่ง ที่จะผ่านไปอย่างรวดเร็วค่ะ