วันพุธ, ตุลาคม 22, 2557

ไทยวืดตำแหน่งใน UNHCR


ที่มา FB Pipob Udomittipong

สมน้ำหน้า คู่แข่งมีด้วยกันแค้ห้าประเทศ มีที่ว่างสี่ตำแหน่ง แต่ไทยเป็นประทศเดียวที่ถูกเขี่ยออกจาก UNHRC แพ้บังคลาเทศ อินเดีย อินโดฯ และกาตาร์ ทางการไทยยื่นจดหมายสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็นตั้งแต่เดือนก.ค.ระบุว่า รัฐบาลไทย “ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนทุกคน” ช่างกล้า ที่ผ่านมาเรียกตัวคนเป็นครึ่งพัน ควบคุมตัวเป็นร้อย ทรมานเอาไฟฟ้าช็อต จับพลเรือนขึ้นศาลทหารไม่ให้ประกันตัว พิจารณาคดีลับ ไม่ให้เขามีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม ญาติจะเข้ารับการพิจารณาคดีก็ถูกกีดกันไม่ให้เข้า

ผมรวมมิตรให้เลยว่าหน่วยงานใหญ่ ๆ ในโลกนอกกะลาแลนด์ เขาพูดถึงเมืองไทยอย่างไรบ้าง Human Rights Watch แถลงชัดเจนเลย ถ้าไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก ถ้ายังกดหัวประชาชนอยู่ ไม่มีทางที่ไทยจะได้เข้าเป็นสมาชิกของ UNHRC อีกครั้ง (http://www.hrw.org/news/2014/10/20/thailand-un-body-requires-rights-commitment)

เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง UNOHCHR ที่กทม.เผยแพร่ “บทวิเคราะห์สิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ของไทย” เขาวิจารณ์ว่า (1) การปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อ่อนแอลง มาตรา 44+47 นี่ให้อำนาจล้นจักรวาลกับคสช. (2) การปฏิเสธสิทธิที่จะได้รับความเยียวยาอย่างประสิทธิภาพกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และ (3) การปฏิเสธสิทธิในการมีส่วนร่วมดาเนินกิจการสาธารณะ อันหลังหมายถึงการไม่ยอมให้ประชาชนเลือกตั้ง แต่คสช.ใช้ตีนเลือกเข้ามาเอง (http://bangkok.ohchr.org/files/Interim%20Com%20analysis%20narrative%201410%20fin%20TH.pdf)

ส่วน FIDH องค์กรร่มที่มีสมาชิกเป็นองค์กรสิทธิมากสุดในโลกรวมทั้ง Union for Civil Liberty (UCL) ประกาศเลยว่า “พฤติการณ์ของคสช.ไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติการเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน” พร้อมกับแจกแจงอย่างละเอียดว่ารบ.ทหารละเมิดสิทธิคนไทยอย่างไร “คสช. กดขี่ปราบปรามฝ่ายที่คัดค้านตนเองอย่างเป็นระบบ” ปิดปากนักกิจกรรมและนักวิชาการ แม้แต่คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (CAT) ยังมี “ข้อกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ” การประการใช้กฎอัยการศึกของไทย และข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อผู้ถูกควบคุมตัว (http://www.fidh.org/en/asia/thailand/16260-thailand-address-human-rights-concerns-in-order-to-be-a-credible-and)

หลอกตัวเองได้ในกะลาแคบ ๆ แต่หลอกโลกไม่ได้หรอกครับ

The 15 new members of the UN Human Rights Council are:

1 Albania
2 Bangladesh
3 Bolivia
4 Botswana
5 Congo
6 El Salvador
7 Ghana
8 India
9 Indonesia
10 Latvia
11 Netherlands
12 Nigeria
13 Paraguay
14 Portugal
15 Qatar
...

"ฉีกหน้าประจานไทย !" (ย้ำ)

...วืดเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษย์ชนยูเอ็น...
....(ผลคะแนนต่ำสุดในกลุ่มชาติเอเซีย)...
1) กลุ่มสิทธิมนุษย์ชนต่างๆ เตือนรัฐบาลไทยหลายครั้งให้เร่งปรับปรุงด้านสิทธิมนุษย์ชน
2) กลุ่มสิทธิมนุษย์ชนต่างๆ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฏอัยการศึก ที่ใช้มาตั้งแต่ยึดอำนาจโดยการรัฐประหาร
3) กลุ่มฮิวแมนไรต์ วอตซ์ ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (18 ต.ค.) เตือนคำสัญญาของรัฐบาลไทย
3.1) ยังไม่สนับสนุนสิทธิมนุษย์ชนอย่างจริงจัง
3.2) ยุติการปิดกั้นเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติ
หมายเหตุ ::..."ใต้อุ้งท็อปบู๊ต"...


...
ศาลทหารสั่งพิจารณาลับคดี 112 โดยตลอด สองคดี



ที่มา iLAW

21 ตุลาคม 2557 ศาลทหารนัดสอบคำให้การจำเลยคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สองคดี ได้แก่คดีของคฑาวุธ และคดีของชายผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

ประมาณ 9.00 น. ญาติของจำเลยทั้งสอง และผู้สังเกตการณ์จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ สถานทูตสหภาพยุโรป (EU)ประมาณสิบคน ทยอยเดินทางมาถึงศาลทหารและลงไปพูดคุยกับจำเลยทั้งสองที่ห้องควบคุมชั่วคราวใต้ถุนศาล ขณะที่ผู้สังเกตการณ์จากสถานทูตสหภาพยุโรปได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าศาลจะสั่งพิจารณาคดีลับ ผู้สังเกตการณ์ไม่สามารถเข้าฟังได้

เวลาประมาณ 9.30 น. เจ้าหน้าที่ศาลนำตัวจำเลยทั้งสองขึ้นไปห้องพิจารณาคดี 1 หลังจากญาติและผู้สังเกตการณ์เข้าไปนั่งในห้องพิจารณาครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ศาลซึ่งเป็นนายทหารก็เดินมาแจ้งว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ศาลจึงจะพิจารณาลับ ผู้ที่ไม่ใช่คู่ความและเจ้าหน้าที่ศาลหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ขอให้ออกไปรอด้านนอก ผู้สังเกตการณ์หลายท่านพยายามสอบถามและชี้แจงเหตุผลที่ควรอนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์แต่ถูกปฏิเสธอย่างสุภาพ

ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งกับญาติของจำเลยและผู้สังเกตการณ์ที่นั่งรออยู่หน้าห้องพิจารณาคดีว่า ศาลให้ทุกคนเข้าห้องพิจารณา เพื่อฟังคำสั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทั้งสอง

เวลาประมาณ 9.50 ศาลก็ขึ้นบัลลังก์ อัยการลุกขึ้นแถลงขอให้ศาลสั่งพิจารณาคดีทั้งสองเป็นการลับ โดยให้เหตุผลซึ่งสรุปความได้ว่า คดีนี้จำเลยถูกฟ้องว่า หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อ พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นคดีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งข้อความตามฟ้องในคดีเป็นความลับของทางการที่ไม่สมควรเปิดเผยต่อประชาชนทั่วไปล่วงรู้ เพราะอาจเกิดผลในทางร้าย

ก่อนที่จะให้โอกาสจำเลยคัดค้าน ศาลกล่าวว่า พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ประกอบกับมีการพาดพิงสถาบันเบื้องสูง เพื่อประโยชน์แห่งความสงบและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงให้การพิจารณาคดีทั้งสองเป็นการพิจารณาโดยลับตลอดกระบวนการ ขอให้ผู้ที่ไม่ใช่คู่ความทั้งหมดออกจากห้องพิจารณาคดี อนุญาตให้จำเลยและทนายความเท่านั้นที่อยู่ในห้องได้ ญาติและผู้ช่วยทนายความก็ไม่สามารถเข้าฟังได้

ทั้งสองคดีจำเลยขอเลื่อนนัดสอบคำให้การเนื่องจากยังไม่พร้อมให้การในวันนี้ คดีของคฑาวุธ ศาลนัดสอบคำให้การใหม่เป็นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ส่วนคดีของชายไม่เปิดเผยชื่อ ศาลนัดสิบคำให้การใหม่เป็นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งจะเป็นการพิจารณาคดีลับ ผู้สังเกตการณ์ไม่สามารถเข้าฟังได้

ภายหลัง ทนายความของคฑาวุธขออนุญาตคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาในวันนี้ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของการพิจารณา และเหตุผลในการออกคำสั่งให้พิจารณาโดยลับ แต่ศาลไม่อนุญาตให้คัดถ่ายเนื่องจากได้อ่านให้ฟังแล้ว
.....

The Military Court ordered to try 2 Lèse-majesté cases behind the close door (for English please scroll down)

The Military Court ordered to try 2 Lèse-majesté cases behind the close door

Around 9.00 AM, the defendants' relatives and observers including representatives from the EU Embassy and the OHCHR presented at the court. Around 9.30 AM. two defendants were brought to the court room

A few minutes later, the court officer came into the court room and announced that the court had ordered to proceed with trial in camera. The officer also asked everyone but the defendants and their lawyers to leave the court room.
The observers tried to negotiate with the court officer to allow them to observe the trials but they were not successful.

Later, the court officer informed everyone to enter the court room to listen to the court's decision on the secrecy of the trials. The proceeding began a few minutes after the defendants' relatives as well as observers returned to the court room.

Almost immediately when the proceeding had began, the military prosecutor stood up and told the court that statements according to the charges which will be mentioned during the trial should not be revealed to those who were not involved in the cases since they are concerned with the monarch. Moreover, both cases also involved the national security matters. He requested the court to consider to try both cases behind closed door.

A judge immediately responded that both cases were the matters of national security. They could also effected negatively on public order and good moral. The judges therefore, ordered that proceedings of both cases shall be conducted behind the close door from the beginning until the end. After the announcement, all observers had to leave the court room for the second time.

It was also informed later that the court does not allowed Khathawut's lawyer to have a copy of the proceeding record. It gave the reason that the record has already been read.