วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

สั่งทำพรมแดงทอใหม่แทบทุกครั้งที่จะเสด็จไปไหนมาไหน ฤๅนี่ ที่ไปของวลี ‘ฝุ่นใต้ตีน’

วลี ฝุ่นใต้ตีนหรือใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้น ที่มาไม่รู้อย่างไร แต่ที่ไปประมาณนี้ ตามที่ สมเด็จพระจักรพรรดินีศรีศศิเฌอปรางวัชรสุภางควดี เอามาผาย เรื่อง #เกียมรับเสด็จที่สัตหีบ “Order พิเศษ พรมแดงเพื่อรับเสด็จ” ว่า

“สำนักพระราชวังให้ทหารสั่งทำพรมแดงทอใหม่แทบทุกครั้งที่จะเสด็จไปไหนมาไหน พรมมันจะได้สีแดงสด สะอาด ในหลวงและพระราชินีผู้สูงศักดิ์เทียมฟ้าจะได้ไม่ต้องเดินย่ำไปบนพรมที่เท้าสกปรก ๆ ของไพร่เคยเหยียบ”

เพราะมันใช้ทิ้งใช้ขว้าง สิ้นเปลืองอย่างนี้ละมัง หลังๆ นี่ไมค่อยเห็นสองพระองค์เสด็จฯ ออกบ่อยนัก

'เจ๊เอ๋' ส่งคำท้ามาแล้ว 'คำผกา' กล้ารับคำท้าหรือเปล่า

 

อย่าง 'คำผกา' ต้องยอวาทีกับ 'เจ๊เอ๋' ถึงค่อยสมน้ำสมเนื้อกัน

ว่าแต่จะยอมรับคำท้าของเจ๊เค้าป่าว อะ

ส่วนคลิปนี้ดูไว้เป็นความรู้ (ไม่ใช่เปรียบเทียบ) ถึงตัวตนของ 'E-Kag' ที่ ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ เอ่ยชื่อ จากทวี้ตของ สายตรวจio @io_patroller


 “แถลงการณ์ฉบับที่ 1 ถึงอีแขก คำผกา จาก อ.ปวิน เนื้อหาเหมือนกัน แต่อรรถรสแบบคลิปนั้นเยอะกว่ามาก เชิญชม 5 นาทีเต็ม”

555 พรรค คิดใหญ่ ทำเป็น จริงๆ - มีคนเจอ ข่าวข้าวเหนียวมะม่วง หนึ่งจานเด็ดหน้าร้อนของไทย ทาง CNN travel แนะนำ พบว่า นี่มัน advertorial นี่หว่า คือ ได้เงินมาจากรัฐบาลไทยให้ช่วยโฆษณาให้



Nopporn Wong-Anan
Yesterday·

ข้าวเหนียวมะม่วง CNN & sponsored content
.
อากู๋เลือกข่าวไทยมาให้เป็นข่าวข้าวเหนียวมะม่วง หนึ่งจานเด็ดหน้าร้อนของไทย ทาง CNNtravel อ่านผ่าน ๆ ก็นึกดีใจที่เขาเขียนถึงประเทศไทย แต่มาอ่านละเอียดอีกทีพบว่า อ้าวนี่มัน advertorial นี่นา ได้เงินมาจากรัฐบาลไทยให้ช่วยโฆษณาให้ บนบรรทัดแรกของเนื้อหาบอกชัดเจน
https://edition.cnn.com/.../sponsorships-policy/index.html
.
Editor’s Note: This CNN Travel series is, or was, sponsored by the country it highlights. CNN retains full editorial control over subject matter, reporting and frequency of the articles and videos within the sponsorship, in compliance with our policy.
.
พอคลิกไปอ่าน our policy ก็บอกชัดว่า เจ้าของสินค้าจ่ายเงินมาได้ แต่ไม่มีสิทธิมาแทรกแซงเนื้อหาที่กองบรรณาธิการ อยากทำนะจ๊ะ ตรวจก็ไม่มีสิทธิตรวจ ฉันรับเงินเธอมา แต่ฉันมีมาตรฐานของฉันเอง

At no stage do advertisers or sponsors – who pay to associate their products or services with editorial content – have a say in which stories CNN covers, which people CNN interviews nor how we present our editorial content on television and/or online. Sponsors do not review nor approve any content before or after it airs or is published.

Editorial content, even when sponsored, is commissioned and produced solely by CNN editorial staff or freelance contractors commissioned by CNN editorial staff. It complies with the same editorial guidelines as non-sponsored articles and video.
.
เห็นแบบนี้ นึกถึงสื่อไทยมากมายในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ที่

1. ไม่บอกชัดเจนว่าเนื้อหาที่คุณนำเสนอนั้น มาจาก editorial decision OR sponsor influence สื่อเรียกร้องเรื่องความโปร่งใสจากรัฐมาตลอด แต่สื่อกลับไม่กล้าบอกกับผู้บริโภคแบบตรงไปตรงมา

2. เมื่อสปอนเซอร์จ่ายเงินให้สื่อเหล่านี้ผลิตเนื้อหาแล้ว เขาก็คิดว่า เขาคือเจ้าของเงิน สั่งให้คุณผลิตอย่างไรก็ได้ แก้ไขกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าเจ้าของสินค้าจะพอใจ หากสื่อรายนี้ไม่ทำตาม ก็ยังมีสื่ออีกหลายค่ายที่พร้อมทำตาม

เรื่องแบบนี้ จะไปบอกให้หน่วยงานไหนช่วยเรียกร้องดี ในเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลก็รับเงินอุปถัมภ์จากกลุ่มทุนยักษ์ ถึงขนาดสั่งให้ลบคลิปได้
.
ขออนุญาตแท็กมิตรสหายที่เคารพในวงการ เพื่อการแลกเปลี่ยน


จาก ธนาพล อิ๋วสกุล : หลังจากรายการ "คำ ผกา อาละวาด" ด่ากราดทุกคนไปแล้ว มีผลกระทบเชิงลบ ต่อบรรดา "นักวิชาการ" ที่เคยตกปากรับคำ (และรับค่าตอบแทน) ว่าจะมาช่วย "เพื่อไทย อะคาเดมี" อาจจะถอนตัว หรือไม่เปิดหน้า เพื่อมาสู้กับ ก้าว Geek


.....
Thanapol Eawsakul
16h

แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทยแจ้งว่า
หลังจากรายการ "คำ ผกา อาละวาด" ด่ากราดทุกคนไปแล้ว
ทำให้บรรดา "นักวิชาการ" ที่เคยตกปากรับคำ (และรับค่าตอบแทน) ว่าจะมาช่วย "เพื่อไทย อะคาเดมี" อาจจะถอนตัว หรือไม่เปิดหน้า
เหลือแต่ช่วยหลังบ้านแล้วครับ
หลังจากบวก ลบ คูณ หารแล้วไม่่คุ้ม
(คนที่จะเปิดตัว น่าจะเหลือแต่พวกที่ไปไหนไม่ได้)
.....
Atukkit Sawangsuk
6h·

เขาไม่ได้โกรธคำว่าข้ามขั้วตระบัดสัตย์
เขาโกรธที่ผมยั่ว “นักวิชาการช่วยงานเพื่อไทย”
ว่าถ้าจะช่วยก็ให้เปิดตัวเถียงแทน “ข้ามขั้วตระบัดสัตย์” ด้วย อย่าแอบ อย่าอาย กินแรงนางแบก
มันคงกระทบ “นักวิชาการ” ที่เขามีส่วนดึงมา
ไม่แน่ใจว่ากระทบแค่ไหน ทำให้ถอยหรือเปล่า แต่ทำให้เขาโกรธ
.....


"เสียสัตย์เพื่อชาติ" เคยได้ยินแล้ว "ตระบัตสัตย์เพื่อชาติ" ยังไม่เคยได้ยิน "ตระบัตสัตย์" ได้ยินบ่อยมาก "ตระบัดถุย" เพิ่งได้ยิน


Kasian Tejapira
11h
·
ตระบัดถุย
%%%%
ครืดขากเสมหะทิ้ง............ถ่มถุย
คำพูดหลุดปากคุย...........ปล่อยขว้าง
น้ำลายห่อนฉลุย..............ลับล่วง
เหนียวหนืดติดปากค้าง....คลื่นไส้สยดสยอง






เหตุผลนึง ที่ทำให้ น.ต.ศิธา ทิวารี ไม่ชอบเงิน “ดิจิม่อน”(Digital Money) หรือโครงการ #digitalwallet ของรัฐบาล


น.ต.ศิธา ทิวารี - Sita Divari
1d
·
เหตุผลนึง ที่ทำให้ผมไม่ชอบเงิน “ดิจิม่อน”(Digital Money) หรือโครงการ #digitalwallet ของรัฐบาล
เพราะมันทำให้นโยบายของผู้ที่เคยก่อการรัฐประหารกลับ “ดูแย่น้อยกว่า” ในสายตาประชาชนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน
ถ้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ดันสร้างภาระกรรมให้กับประเทศชาติ และก่อหนี้ผูกพันให้กับลูกหลาน มากกว่ารัฐบาลเผด็จการที่ฉีก รธน.ทำลายประชาธิปไตย เคยทำไว้
เท่ากับรัฐบาลกำลังสร้างความ “ชอบทำ” ให้กับ #เผด็จการ ใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อกระทำรัฐประหาร ยึดอำนาจมาเป็นของตนเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า วนเวียนไปไม่รู้จบ
รัฐบาลที่
- ฟังเสียงประชาชน
- คิดให้รอบคอบ ฟังให้รอบด้าน
- ไม่ทำอะไรขัดต่อความรู้สึกคนส่วนใหญ่
- เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ มากกว่าประโยชน์ของตนเอง เท่านั้น
จึงจะครองใจคน และกู้ศรัทธา
ของประชาชนกลับคืนมาได้
Credit: รูปจากเพจ “เชียร์ลุง”
โพสต์โดยคนที่ไม่เคยเชียร์ลุง


ในรัฐบาลเศรษฐา/เพื่อไทย ภาพรวมสถานการณ์การยื่นประกันผู้ต้องขังคดีทางการเมืองที่อยู่ในระหว่างต่อสู้คดี มีแนวโน้มที่จะแย่ลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
14h·

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มค. - มี.ค. 2567 ทนายความยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว #ผู้ต้องขังทางการเมือง ที่ยังอยู่ในเรือนจำ และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจากศาลยุติธรรมเรื่อยมา
ภาพรวมสถานการณ์การยื่นประกันผู้ต้องขังคดีทางการเมืองที่อยู่ในระหว่างต่อสู้คดี มีแนวโน้มที่จะแย่ลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มีการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องขังในคดีการเมืองทั้งหมด 42 ครั้ง แบ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 112 และ มาตรา 116 รวม 32 ครั้ง คดีที่สืบเนื่องมาจากเหตุระเบิด – วางเพลิง 9 ครั้ง และคดีละเมิดอำนาจศาล 1 ครั้ง ในจำนวนทั้งหมดนี้ ไม่มีศาลใดอนุญาตให้ประกันผู้ต้องขังคดีทางการเมืองแม้แต่รายเดียว
อ่านบนเว็บไซต์ : (https://tlhr2014.com/archives/66180)
#ประกันตัว #TLHR #ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
.....

นายแผน แสนสะท้าน
7h
·
กูไม่แพ้ ใครจะ ชนะได้
กูยังไหว ยังสู้ อยู่ที่นี่
สิ่งงดงาม ความฝัน มันต้องมี
สิทธิ์เสรี จะมิให้ ใครพรากไป
#คืนสิทธิ์ประกันตัว
#ปฏิรูปขบวนการยุติธรรม
..ยืนหยุดขัง18/4/67..


การตายจากมะเร็งปอดที่ “ไม่ยุติธรรม” ของคณบดี ม.เชียงใหม่ ผ่านการต่อสู้ของครอบครัว “เจ็บใจแทนคุณแม่ แม่รักษาสุขภาพมาดีตลอด ทำชีวิตของเขามาดีตลอด แต่มันมาพลาดเพราะปัจจัยภายนอกที่เขาไม่สามารถควบคุมได้... มันเป็นการตายที่ไม่ยุติธรรม”

ศ.ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี (คนที่สองจากขวา) เพิ่งผ่านการทำคีโมครั้งแรก กำลังถ่ายรูปพร้อมหน้ากับครอบครัว จากนั้นไม่นาน เธอต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาล และเสียชีวิต เมื่อ 3 เม.ย. 2567

การตายจากมะเร็งปอดที่ “ไม่ยุติธรรม” ของคณบดี ม.เชียงใหม่ ผ่านการต่อสู้ของครอบครัว

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
17 เมษายน 2024

คำเตือน: บทความนี้มีเนื้อหาที่อาจทำให้รู้สึกสะเทือนใจ

“อาจารย์ต้อมบอกว่า ถ้าเลือกได้ เขาขอตายก่อนนะ เพราะเขาจะอยู่ไม่ได้ถ้าผมตายก่อน แต่เขารู้ว่าถ้าเขาไปก่อน ผมน่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้”

เมื่อสิ้นประโยค จิตรกร โอฬารรัตน์มณี ร้องไห้ออกมา บีบีซีไทยจึงหยุดการสัมภาษณ์ครู่หนึ่ง เหลือเพียงความเงียบปนเสียงสะอื้นจาง ๆ ภายในห้องขนาดเล็กที่รายล้อมด้วยภาพอันอบอุ่นของ ระวิวรรณ ภรรยาผู้ยิ้มง่ายและรักผ้าไทยเป็นชีวิตจิตใจ

ประโยคตอนต้นนั้น เป็นคำพูดทีเล่นทีจริงของภรรยาเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในช่วงเวลาที่ครอบครัวมีความสุข ทุกคนประสบความสำเร็จทางอาชีพและการศึกษา ด้วยสุขภาพดีไม่ค่อยป่วยไข้ แต่จิตรกรไม่คาดคิดเลยว่า บทสนทนาดังกล่าวจะกลายเป็นความทรงจำที่ “กรีดหัวใจ” เขา ซึ่งต้องกลายเป็นพ่อหม้ายลูกสอง เมื่อไม่นานมานี้

“คำว่าเหมือนมีดกรีดไปที่หัวใจ ใครไม่เคยเจอ จะไม่เข้าใจถึงคำนี้ มันบีบหัวใจ มันกรีดลงไป” เจ้าของร้านกาแฟเล็ก ๆ ในเชียงใหม่ กล่าว “การสูญเสียนี้มันโหด[ร้าย]มาก”

ภรรยาของจิตรกร คือ ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) หรือที่ลูกศิษย์มักเรียก “อาจารย์ต้อม” เธอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 ด้วยอายุ 55 ปี จากมะเร็งปอดระยะ 4 ที่แพทย์วินิจฉัยว่า “เกิดจากยีนกลายพันธุ์ที่เป็นผลจาก PM 2.5”


พิธีศพ ศ.ดร.ระวิวรรณ ณ ศาลาปฏิบัติธรรม วัดสวนดอกพระอารามหลวง วันที่ 4 เม.ย. 2567

ศ.ดร.ระวิวรรณ คือบุคลากรสำคัญคนที่ 4 ของ มช. ที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควรจากมะเร็งปอด แต่สำหรับผู้คนในเชียงใหม่ เธอคือ “เหยื่อ” จาก PM 2.5 เพียงส่วนน้อยที่เป็นข่าวในจังหวัดที่ได้สมญานามว่า “เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก” จากดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI ที่ติดอันดับโลกอยู่บ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี

“ขนาดข่าวมันออกมาขนาดนี้ ทำไมปัญหามันยังอยู่” จิรวรรณ โอฬารรัตน์มณี กล่าวในฐานะลูกสาวที่ต้องสูญเสียมารดา และเสาหลักของครอบครัว “คุณแม่และคนป่วยมะเร็งปอดหลายคน ไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเลย ไม่ได้สูบบุหรี่”

และนี่คือเรื่องราวของสามีและลูก ๆ ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักให้กับฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ผ่านความทรงจำตลอด 1 ปี 4 เดือนแห่งความหวัง สิ้นหวัง และการจากลา ที่พวกเขาอยากถ่ายทอดเพื่อให้สังคมตระหนักว่า “มหันตภัย PM 2.5 มันอยู่ใกล้ตัว” กว่าที่คิด

จาก “จุดสูงสุด” สู่มะเร็งระยะ 4

แม้พื้นเพเป็นคนเชียงใหม่ แต่ชีวิตการงานช่วงต้นของจิตรกรอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำงานเป็นวิศวกรก่อสร้าง ที่ทำให้ได้พบกับ ระวิวรรณ สถาปนิกหญิงจากชลบุรี ซึ่งวันแรกที่พบกัน จิตรกร เล่าว่ามันเหมือน “บุพเพสันนิวาส”

คบหากันได้ราว 10 ปี ทั้งคู่ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่บ้านเกิดของจิตรกรใน จ.เชียงใหม่ เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน เพื่อดูแลบุพการีที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ และอีกเหตุผลคือ เบื่อหน่ายความวุ่นวายในกรุงเทพฯ


จิตรกร โอฬารรัตน์มณี อยู่เคียงข้างภรรยาจวบจนวันสุดท้าย

ช่วงเวลานั้น ระวิวรรณ ที่เพิ่งศึกษาจบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา ก็ได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และด้วยความเป็นคนรักงานวิจัย เธอจึงได้โอกาสศึกษาต่อปริญญาเอกที่สหราชอาณาจักร แล้วกลับมาไต่เต้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง จนเมื่ออายุเข้าเลขห้า เธอขึ้นเป็นคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ระวิวรรณ เป็นคนที่ไม่ลังเลกับวิธีคิด เขาจะมุ่งทำเลย เจอปัญหาก็แก้” จิตรกร กล่าวถึงภรรยาที่เขาภูมิใจ ก่อนเล่าต่อว่า ในฐานะแม่ของลูกสาวสองคน ภรรยาของเขาค่อนข้างจะ “สปอยล์” [ตามใจ] ลูก แต่หากลูกทำผิดก็พร้อมจะอบรมอย่างเคร่งครัด

เดือนปีผ่านไป อาชีพการงานของ ระวิวรรณ ประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกัน เชียงใหม่ที่ “ครอบครัวโอฬารรัตน์มณี” รู้จัก ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเช่นกัน จากอากาศเย็นสดชื่นและสิ่งแวดล้อมที่คน กทม. เคยอิจฉา กลายเป็นจังหวัดที่มักปกคลุมด้วยฝุ่นควัน โดยเฉพาะช่วงต้นปี ถึงหลังสงกรานต์เดือน เม.ย.

“ฝุ่นควันเป็นเรื่องที่เราเห็นประจำ แต่ตอนนั้น ผมยังเฉย ๆ” อดีตวิศวกรที่ผันตัวมาทำร้านกาแฟ กล่าว “เราไม่เคยสนใจ PM 2.5 มองว่า เดี๋ยวร่างกายก็ปรับภูมิได้เอง ค่า AQI 500-700 เรายังผ่านมาได้เลย ไม่เห็นจะเป็นอะไร”


ศ.ดร.ระวิวรรณ ออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งโยคะ วิ่ง และปั่นจักรยาน เธอไม่สูบบุหรี่ และตรวจสุขภาพทุกปี

ความคิดนั้นของ จิตรกร เปลี่ยนไป เมื่อครอบครัวได้รับข่าวร้ายเมื่อต้นปี 2566

มันเริ่มจากอาการไอที่ค่อย ๆ รุนแรงขึ้นของ ศ.ดร.ระวิวรรณ จนเมื่อเธอเริ่มไอเป็นเลือด จิตรกรจึงพาภรรยาไปโรงพยาบาล เพราะคิดว่าระบบทางเดินหายใจอาจเป็นแผล

“พอตรวจละเอียด ทั้งทำ CT-Scan และ MRI พบว่า เป็นมะเร็งที่ปอด แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นระยะ 4 เลย ตอนนั้น ทุกคนอึ้งกันไปหมด ทั้งลูก ทั้งตัวอาจารย์ต้อม แบบเฮ้ย เกิดอะไรขึ้นวะ” เพราะ ศ.ดร.ระวิวรรณ ดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นอย่างดี เธอตรวจสุขภาพอย่างละเอียดทุกปี ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารคลีน และชอบออกกำลังกาย โดยเฉพาะโยคะและวิ่ง

“ตอนนั้น พี่สาวโทรมาแจ้งข่าว หนูนั่งอยู่ในรถตรงนั้น” จิรวรรณ โอฬารรัตน์มณี ลูกสาวคนเล็ก วัย 20 ปี ชี้ไปบริเวณลานจอดรถข้างตึกคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ตอนรู้ครั้งแรก หนูร้องไห้อยู่ตรงนั้น มันตั้งตัวไม่ทัน ไม่มีใครตั้งตัวทัน”

นิสิตสาวคณะนิเทศศาสตร์ ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักพากย์ ยอมรับว่า ข่าวการป่วยของมารดา สะเทือนจิตใจของครอบครัว และทำให้เธอกังวลถึงอนาคต เพราะแม่เป็นทั้งเสาหลัก และ “ศูนย์รวมใจของคนในครอบครัว เขาเป็นคนดึงทุกคนกลับมารวมกัน”


จิรวรรษ ลูกสาวคนเล็กของระวิวรรณ ปัจจุบัน เป็นนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เธอฝันอยากเป็นนักพากย์

“คุณแม่เป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่งมาก ๆ” จิรวรรณ เล่าต่อว่า การป่วยเป็นมะเร็งขั้นวิกฤตอย่างไม่คาดฝัน ในวันที่ชีวิตถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จ ทำให้มารดา “ท้อ” และรู้สึกเสียคุณค่าในตัวเอง

“แม่คือคนที่ขึ้นไปจุดสูงที่สุดในอาชีพ เขาเป็นคณบดี ทุกอย่างมันกำลังจะรุ่งโรจน์ แล้วต้องมาเป็นมะเร็ง เขาก็มีความไขว้เขวอยู่”

ย้อนไปไม่กี่เดือนก่อนข่าวร้ายของครอบครัวโอฬารรัตน์มณี กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์แพทย์หนุ่ม ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว มช. ได้ประกาศการป่วยเป็น “มะเร็งปอดระยะสุดท้าย” ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ในไทย เพราะเขาเล่าถึงชีวิตที่กำลังมีความสุข เตรียมแต่งงาน และอีกคุณลักษณะที่คล้ายกับ ศ.ดร.ระวิวรรณ คือ อาจารย์นายแพทย์วัย 28 ปี ไม่สูบบุหรี่และรักการออกกำลังกาย

อ.นพ.กฤตไท ที่เปิดเพจ “สู้ดิวะ” เพื่อสร้างพลังใจและสะท้อนให้สังคมไทยเห็นภัยของ PM 2.5 ได้เสียชีวิตเมื่อต้นเดือน ธ.ค. 2566 และหากนับ ศ.ดร.ระวิวรรณ ที่เสียชีวิตในอีก 5 เดือนต่อมา (เม.ย. 2567) ทำให้นับแต่ปี 2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สูญเสียคณาจารย์จากมะเร็งปอด รวม 4 คน
อาจารย์แพทย์หนุ่มอนาคตไกล กับการต่อสู้ "มะเร็งปอดระยะสุดท้าย"

ความหวัง สิ้นหวัง และซ้อมการตาย

ภายหลังรู้ตัวว่าป่วยเป็นมะเร็งปอด คณบดีหญิงคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เอ่ยถามลอย ๆ อย่างไม่คาดหวังคำตอบว่า “เราเกิดมาเพื่ออะไร”

ทั้งนี้ พวกเขายังมีความหวัง เพราะแพทย์ระบุว่า ยังมีโอกาสรักษาด้วยการใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด หรือคีโม แต่ทางครอบครัวก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเอง เพราะเบิกประกันสังคมไม่ได้

ผลจากการใช้ยามุ่งเป้า คือ “เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดลดลง และการใช้ชีวิตเหมือนคนปกติเลย เราไม่เคยบอกใครว่าเป็นมะเร็งนะ ถ้าเพื่อนไม่สนิทจริง ๆ” จิตรกร กล่าว ซึ่งช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ศ.ดร.ระวิวรรณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป รวมถึงเดินทางไปร่วมงานวิชาการในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

แต่จิตรกรขอใช้คำว่า “โชคไม่เข้าข้าง” เพราะหลังผ่านไป 6 เดือน เซลล์มะเร็งเกิดการดื้อยา และไม่เพียงกลับมามีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังลุกลามไปที่ตับและกระดูกด้วย จนถึงจุดที่แพทย์แนะนำว่าต้องทำคีโมเพื่อรักษา พร้อมการทานยาคล้ายมอร์ฟีนทุก ๆ 6 ชั่วโมง เพื่อลดความเจ็บปวดทางกายที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ส่วนทางใจนั้น พวกเขาใช้ธรรมะเพื่อปลอมประโลมซึ่งกันและกัน


จิตรกร ชมภาพความทรงจำของภรรยา ที่เหล่าลูกศิษย์ของ ศ.ดร.ระวิวรรณ จัดทำให้

ภายหลังเริ่มทำคีโมได้ 2 ครั้ง จิรวรรณ สังเกตเห็นร่างกายที่ทรุดลงของแม่ได้อย่างชัดเจน

“ความสดใสมันเริ่มหายไป ช่วงนั้นไม่ค่อยกล้ามองหน้าคุณแม่ เพราะมันรู้สึกหดหู่ มันรู้สึกว่า ความหวังมันริบหรี่ลงเรื่อย ๆ ทั้งที่ตอนทำคีโมแรก ๆ แม่ยังเดินได้ ไปเที่ยวได้ ไปรับปริญญากับพี่สาวได้อยู่”

ภาพในวันรับปริญญาของ จิตบุญญา โอฬารรัตน์มณี ลูกสาวคนโต ที่ปัจจุบันเป็นวิศวกรอยู่ใน กทม. คือภาพสุดท้ายที่ครอบครัวยังอยู่พร้อมหน้า เพราะก่อนจะเข้ารับเคมีบำบัดรอบที่ 3 ช่วง มี.ค. 2567 แพทย์ได้วินิจฉัยว่า “อาการไม่ไหวแล้ว” และต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาลมหาราช

“แทบจะเหมือนนอนติดเตียงแล้ว พอลุกเดินได้เล็กน้อย แต่ต้องประคอง” จิตรกร บรรยายอาการของภรรยาในเวลานั้น ตัวเขาเองก็ต้องปรับตารางชีวิตใหม่ เพื่อให้มีเวลามาเยี่ยม ระวิวรรณ ทุกวัน “เราสงสารเขา ถ้าเขาตื่นขึ้นมาไม่เห็นใคร เขาจะจิตตกแค่ไหน มันโหดมาก ๆ”

ในขณะเดียวกัน จิตรกร เริ่มตระเตรียมฉากการเสียชีวิตของภรรยาแล้ว

“เราเคยคุยกันว่า วันหนึ่งไม่ว่าผมหรือเขา ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรืออะไรก็ตาม อย่าใส่เครื่องช่วยหายใจ เจาะคอนั่นนี่ เพราะมันทรมาน... ถ้าต้องเป็นเจ้าชายนิทรา เจ้าหญิงนิทรา ไม่เอา ไม่ต้องยื้อ”


วันรับปริญญาของ จิตบุญญา โอฬารรัตน์มณี บุตรสาวคนโต (คนที่สองจากทางขวา)

แต่สำหรับลูกสาวอย่างจิรวรรณ วันที่เห็นคุณแม่หลับไม่ได้สติจากมะเร็งที่ลุกลามจน “กินสมอง” คือ วันที่หนักที่สุดในชีวิตเธอ เพราะปลงใจแล้วว่า ความหวังไม่เหลืออีกต่อไป

“หนูรู้สึกว่าแม่เสียไปตั้งแต่วันนั้น” น้ำตาของจิรวรรณ พรั่งพรูออกมา แต่เธอยังให้สัมภาษณ์ต่อแม้เสียงสั่นเครือ “มันไม่มีความหวังเลยหรือ หนูไม่กล้าตอบแชทใครที่มาให้กำลังใจเลย ไม่กล้าตอบคนที่บอกว่า ‘เดี๋ยวแม่ก็หาย’ เพราะหนูรู้ว่า มันเป็นไปไม่ได้”

แต่ภาพที่สะเทือนใจที่สุด คือ มารดาที่ถูกรัดข้อมือไว้กับเตียง ดิ้นรนทุรนทุราย จนเหมือนไม่ใช่คุณแม่ผู้ใจดีที่เธอรู้จักมาตลอดชีวิต

“คุณแม่คิดว่าตัวเองโดนขัง โดนจับไปทารุณ บอกให้โทรหาตำรวจ... แล้วจ้องตาเราเขม็งเลย บอกว่า ถ้าไม่ปล่อย เขาจะตายนะ” ลูกสาวคนเล็ก บรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนั้น ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เธอเริ่มไม่กล้าเข้าไปเยี่ยมแม่อีก “เรากลัวว่า เขาเห็นเราแล้ว เขาจะมีความหวังว่าจะได้ออกไป”

สงครามที่สิ้นสุด... กับคนที่ยังอยู่

“หนูรักอาจารย์นะ” และ “หนูมาหาอาจารย์แล้วนะคะ”

นี่เป็นคำที่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่กล่าวกับ ศ.ดร.ระวิวรรณ เมื่อครั้งมาเยี่ยมในช่วงสัปดาห์สุดท้ายในชีวิตของคณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามคำบอกเล่าของ จิตรกร

ช่วงต้น เม.ย. 2567 หรือหลังยื้ออาการในห้องฉุกเฉิน (ICU) มานาน 2 สัปดาห์ ครอบครัวโอฬารรัตน์มณี ตัดสินใจให้ ระวิวรรณ เข้ารับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือระยะประคับประคอง (palliative care) ที่เน้นการให้คุณค่าของการมีชีวิตก่อน “จากโลกนี้ไป” โดยไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิต

อยู่สบายตายสงบ (ที่บ้าน) ประสบการณ์ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้กำหนดฉากสุดท้ายของชีวิต

“ทุกเวลามันสำคัญแล้ว เราฟังเสียงหายใจของเขาตลอด” จิตรกร ระบุ และก็เป็นเวลาที่เขาตระเตรียม “ฉากการเสียชีวิต” ตามที่ได้สัญญากับภรรยาไว้ ไม่ว่าจะการเปิดคลิปธรรมะ เปิดเพลง Live and Learn ขับร้องโดย กมลา สุโกศล ที่ระวิวรรณชอบ และอยู่เคียงข้างกันให้มากที่สุด


จิตรกร เล่าว่า ภรรยาของเขาไม่เคยถือตัว รักลูกศิษย์ทุกคนเหมือนลูก จนได้ชื่อว่า "อาจารย์แม่"

จนเข้าสู่เช้าวันที่ 3 เม.ย. “เขานอน แล้วหายใจเริ่มแผ่วลง” ถึงจุดนี้ จิตรกร รู้ดีว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว และก้มลงพูดกับ ระวิวรรณ ว่า “ต้อม [ระวิวรรณ] ไม่ต้องห่วงแล้วนะ ไม่มีห่วงใด ๆ ลูกก็ไม่ต้องห่วงนะ ลูกดูแลตัวเองได้ ที่คณะก็ไม่ต้องห่วง”

“จากนั้นพอเห็นใกล้ช่วงท้าย เราก็บอกว่าเมื่อกายนี้แตกสลาย ดับจิตสุดท้ายทันที มุ่งนิพพาน ไม่ขอกลับมาเกิด” ผู้เป็นสามีเล่าต่อทั้งน้ำตา จนเมื่อ ระวิวรรณ นิ่งลงไม่หายใจ จึงหันไปบอกลูกสาวคนโตว่า “คุณแม่ไปแล้ว”

“เขานอนเหมือนคนนอนหลับที่สบายที่สุด หน้าเขาอิ่มมาก ๆ... ความรู้สึกตอนนั้นมี 2 อย่าง คือ ปลื้มใจที่ส่งเขาถึงฝั่งตามที่เขาต้องการ แต่อีกส่วนหนึ่ง คือ ความเจ็บปวด”

ครอบครัวโอฬารรัตน์มณี ทำตามความมุ่งหมายที่ ศ.ดร.ระวิวรรณ เคยกล่าวไว้ คือ อุทิศร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่” แก่คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี จิตบุญญา ลูกสาวคนโตขอทำหน้าที่ครั้งสุดท้าย ประทินโฉมให้มารดา สวมชุดไทยที่แม่รัก และวิกปกปิดผมที่ร่วงหล่นจากการทำคีโม เพื่อให้แม่ดูดีที่สุด ก่อนจะอุทิศร่างให้ทางมหาวิทยาลัย


"ปลื้มใจที่ส่งเขาถึงฝั่งตามที่เขาต้องการ" จิตรกร

“เหมือนสงครามมันจบ รู้สึกว่าคุณแม่ไม่ต้องทรมาน ทุกอย่างมันจบแล้ว” จิรวรรณ ลูกสาวคนเล็ก ย้อนความรู้สึกตอนที่ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของมารดา

แต่ในขณะเดียวกัน “มันก็เป็นความน่าใจหายที่ แม่จะไม่อยู่อีกแล้ว เอาจริง ๆ ทุกวันนี้ เวลานึกภาพคุณแม่ หนูยังนึกภาพตอนที่เขายังปกติอยู่เลย... ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องให้กำลังใจพ่อ เพราะแม่เป็นครึ่งชีวิตของพ่อ มันมีวันที่เรารู้สึกว่าพ่อเขาตรอมใจ”

การตายที่ดูไร้ค่า ?

ช่วงต้นปีถึง เม.ย. เป็น "ฤดูฝุ่น" ของคนเชียงใหม่

เมื่อถามเธอว่า การเสียชีวิตของมารดา ทำให้มองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เหมือนเดิมอีกไหม

จิรวรรณ ตอบว่า “ทุกวันนี้คิดตลอดว่า อยากให้พ่อกับย่าย้ายมาอยู่ที่อื่น ไม่อยากให้อยู่เชียงใหม่แล้วด้วยซ้ำ... ขนาดแม่ยังเป็นเลย เราเลยกลัวว่าพ่อจะเป็นอะไรขึ้นมา”

เชียงใหม่ในความทรงจำที่เธอเติบโต คือ อากาศเย็น ๆ ยามเช้าที่เธอมักไปออกไปเล่นกับหมาแมว การออกกำลังกายกลางแจ้งกับครอบครัว และยอดดอยต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนจากตัวเมือง

แต่ทุกวันนี้ เชียงใหม่ที่เธอรู้จัก คือ ฝุ่นควันที่ทำให้ผู้คนนับไม่ถ้วนต้องเข้าโรงพยาบาล เชียงใหม่ที่น่าหดหู่จากสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ และเชียงใหม่ที่พรากชีวิตคุณแม่ที่เธอรักไปอย่าง “ไม่ยุติธรรม”

“เจ็บใจแทนคุณแม่” เธอร้องไห้อีกครั้ง “แล้วก็เจ็บใจกับตัวเองด้วย แม่รักษาสุขภาพมาดีตลอด ทำชีวิตของเขามาดีตลอด แต่มันมาพลาดเพราะปัจจัยภายนอกที่เขาไม่สามารถควบคุมมันได้... มันเป็นการตายที่ไม่ยุติธรรม”

ส่วนตัวแล้ว จิรวรรณ ไม่ได้โกรธแค้นผู้คนที่เผาตอซังข้าว-อ้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดฝุ่นควันและ PM 2.5 ในภาคเหนือ เพราะเธอเข้าใจดีว่า หากรัฐบาลไม่ดำเนินมาตรการ หรือเสนอทางเลือกที่ดีกว่าให้เกษตรกร “เขาก็ไม่มีวันหยุดเผา”

กลับกัน เธอโกรธผู้คนที่มาแสดงความเห็นถึงปัญหาสุขภาพของคนเชียงใหม่ว่า ไม่ได้เป็นผลจากมลพิษทางอากาศ “หนูโกรธคนที่พยายามปกป้อง PM 2.5 มากกว่า คุณไม่ได้เดือดร้อน คุณก็พูดได้สิ”


บทสนทนาสุดท้ายกับมารดาในห้วงเวลาที่ยังมีสติ คือ การได้บอกแม่ว่า ผลงานพากย์เสียงจะได้เผยแพร่แล้ว “เขาก็จับมือ แล้วทำปากบอกว่า ‘เก่งมาก เก่งมาก’”

อย่างไรก็ดี เธอยอมรับว่า พ่อของเธอคงไม่ย้ายออกจากเชียงใหม่ตามที่เธอปรารถนา เพราะชีวิตและการงานของพ่ออยู่ที่เชียงใหม่ ที่สำคัญ เธอเชื่อว่าพ่อยังมีความหวังอยู่ว่า สักวันปัญหาฝุ่นควันจะหายไป

“เชียงใหม่ ยังเป็นเมืองที่ผมรัก” จิตรกร ยอมรับ แต่ก็เห็นตรงกับลูกสาวว่า เชียงใหม่ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

สิ่งที่เขาอยากให้สังคมได้จดจำ จากเรื่องราวการเสียชีวิตของ ศ.ดร.ระวิวรรณ คือ ความเป็นนักสู้ของคณบดีหญิงแห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. ที่แม้จะป่วยติดเตียง ก็ยังสอบนักศึกษาปริญญาเอกผ่าน Zoom เป็นวาระสุดท้าย

และอีกความหวังของเขา จากการที่อนุญาตให้บีบีซีไทยได้ถ่ายทอดเรื่องราวนี้ คือ อยากให้สังคมและรัฐบาลตระหนักว่า ภัยของ PM 2.5 มันใกล้ตัวเรามากแค่ไหน และอย่ารอช้าในการแก้ปัญหา

“ผมไม่อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัวใครอีก เพราะมันทารุณ... การต้องมาตายเพราะฝุ่น PM 2.5 มันเหมือนการตายที่ไร้ค่า” จิตรกร ทิ้งท้าย

https://www.bbc.com/thai/articles/c1vwg10p201o

เบรมกันไป- เบรมกันมา ทำให้คิดถึง เทคนิคของคนที่ต้องการปฏิเสธที่จะรับผิด ฝรั่งเรียกว่า "The 3 D's of not accepting accountability"


  • Denial of the situation. ปฏิเสธ
  • Deflection. เบรมคนอื่น
  • Deceive. ทำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องไม่สำคัญ


คล้ายๆคำแนะนำของสุมาอี้ที่ให้แก่โจผี คราที่พ่อ(โจโฉ)สงสัยตัวเป็นผู้ฆ่าน้อง
.....
Krisana Oneill
5h·
วันนั้นภูมิใจ วันนี้จะไม่ทน
#เพื่อไทยตระบัตสัตย์



คำพูด "เงินอยู่ที่ Voice ใจลอยอยู่ที่อื่น" ในรายการ InHerEyes 18 เม.ย.67 ทาง VOICE TV มี implication ใหญ่ไม่น้อย เพราะมันสะท้อนว่าทุกอย่างที่พูดที่ทำมันไม่ได้ยึดโยงกับหลักการความถูกต้องหรือทรรศนะจริงๆ แต่มันเป็นแค่ “การรับใช้นาย”


วิวาทะ V2
6h·

"เงินอยู่ที่ Voice ใจลอยอยู่ที่อื่น" รายการ InHerEyes 18 เม.ย.67 ทาง VOICE TV
"เข้าใจเรื่องพยายามตอบโต้ทางการเมือง แต่มาตั้งประเด็นแบบนี้ คนจะคิดไปได้ว่าอยู่ VOICE ต้องใจอยู่ที่นี่ตลอด ทีนี้คนที่เดือดร้อนไม่ใช่ใครอื่นนอกจากนักข่าวที่ยืนยันในความอิสระในการทำข่าว ยืนยันว่าตัวเองทำโดยอิสระปราศจาควาระนี่ล่ะครับ จะตั้งประเด็นโต้อะไรก็นึกถึงคนที่ยังยืนหยัดในหลักการบ้าง" - มิตรฯ
.....
Eye InShadow

ที่พูดในรายการนี่เรื่องใหญ่นะ
สมควรถูกตรวจสอบอ่ะ เพราะมันคือการประกาศออกสื่อว่าถ้าเอ็งรับเงินช่องใดก็ห้ามด่าพรรคใด ห้ามชื่นชมพรรคใด สะท้อนว่าทุกอย่างที่พูดที่ทำมันไม่ได้ยึดโยงกับหลักการความถูกต้องหรือทรรศนะจริงๆ แต่มันเป็นแค่
“การรับใช้นาย”

อ่านความเห็นอื่นๆที่
https://www.facebook.com/quoteV2/posts/843339131155184?ref=embed_post


อุ้ย ! คนดีย์ถูกจับได้ว่า เส้นทางการเรียนปริญญาเอกของ สว. คนนี้ ดูง่ายกว่านักศึกษาคนอื่นเยอะเลย


iLaw
9h
·

สมชาย แสวงการ เป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่มีบทบาทในสภาและหน้าข่าวบ่อยครั้ง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา อดีตผู้สื่อข่าวก้าวกระโดดในหน้าที่การงานและการศึกษา นอกจากจะได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารทั้งสองครั้งในปี 2549 และ 2557 รวมถึงเป็น สว. สรรหาถึงสองสมัย ในปี 2551 และปี 2554 ด้านวิชาการ ก็มีความก้าวหน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปี 2565 สมชายยังสำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตหรือปริญญาเอก ได้เป็นถึง “ดอกเตอร์” ด้วย
.
อย่างไรก็ตาม เส้นทางการเรียนปริญญาเอกของสมชายอาจดูง่ายกว่านักศึกษาคนอื่น เนื่องจากมีการพบว่าดุษฎีนิพนธ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอันขาดไม่ได้ในการเป็นดอกเตอร์นั้นมีการคัดลอกข้อความจากหลากหลายแห่ง ซึ่งในหลายจุดเป็นการคัดลอกและวางข้อความในผลงานตัวเอง เหมือนต้นทางทุกตัวอักษร
.
สว. แต่งตั้ง วิจัยที่มา สว.
.
สมชายสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกในปี 2565 จากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเลือกทำดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อ “รูปแบบและวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย” โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ศาสตราจารย์ อุดม รัฐอมฤต หนึ่งในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 (กรธ.) ชุดมีชัย ฤชุพันธุ์ ปัจจุบันอุดมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมติเห็นชอบโดยวุฒิสภาที่มีสมชายเป็นสมาชิก
.
งานวิจัยยาว 264 หน้า (รวมภาคผนวกและประวัติผู้เขียนที่มีความยาวสองหน้า) สำรวจที่มาของ สว. ทั้งในต่างประเทศและในประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา โดยผู้เขียนเห็นว่า สว. ระบบ “เลือกกันเอง” ตามรัฐธรรมนูญ 2560 นั้น “เป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้” แต่ก็ยังมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น เสนอให้ผู้สมัครในกลุ่มเลือกกันเองแทนการเลือกไขว้ หรือให้มีกลุ่มอาชีพผู้เชี่ยวชาญเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
.
ลอกงานสถาบันพระปกเกล้า
.
เมื่อตรวจสอบดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย พบว่ามีข้อความหลายท่อนตอนที่เหมือนกับงานวิชาการอื่น ๆ ที่หัวข้อคล้ายกัน ที่เด่นชัดที่สุดคือหนังสือของสถาบันพระปกเกล้า “รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย” เขียนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูมิ มูลศิลป์ และชมพูนุท ตั้งถาวร ตีพิมพ์ในปี 2558 ซึ่งดุษฎีนิพนธ์ของสมชายมีข้อความที่เหมือนกันมากกว่า 30 หน้า
.
ตั้งแต่หน้า 38 ในดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย หัวข้อ 2.3.1 “กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มประเทศที่กำหนดให้ความเป็นตัวแทนของวุฒิสภายึดโยงกับพื้นที่” ไปจนถึงหน้า 64 ซึ่งเป็นหน้าสุดท้ายของบทที่สอง มีเนื้อหาตรงกับหน้าที่ 77-115 ของหนังสือสถาบันพระปกเกล้า ในหน้า 38 ของดุษฎีนิพนธ์ของสมชายถึงกับลอกเอาเชิงอรรถของหน้า 77 ในหนังสือสถาบันพระปกเกล้ามาทั้งหมด
.
รูปแบบการลอกนั้นไม่ได้มีแค่การลอกทางตรงเท่านั้น ในหน้า 80 ของหนังสือสถาบันพระปกเกล้า มีเชิงอรรถขนาดยาวที่อธิบายพลวัตของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติในระบอบประธานาธิบดี งานวิจัยของสมชายก็ยกเอาเชิงอรรถทั้งหมดนี้มาใส่ในเนื้อหาในหน้า 40-41
.
ลอกทั้งหมดโดยแค่ใส่อ้างอิง
.
นอกจากการคัดลอกแบบไม่อ้างอิงผลงานต้นทางแล้ว ยังพบว่าในบางส่วนของดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย มีการใส่เชิงอรรถงานที่อ้างอิงเอาไว้ แต่กลับคัดลอกข้อความทั้งหมดแทนที่จะสรุปแนวคิดและเขียนใหม่เป็นภาษาของตัวเองเพื่อป้องกันการคัดลอกผลงาน
.
ยกตัวอย่างเช่น ในหน้า 65 ของดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อ “รูปแบบและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาประเทศอังกฤษ” ห้าบรรทัดแรกของเนื้อหาเหมือนกับเนื้อหาส่วนแรกของงาน “สภาขุนนางอังกฤษ” ที่เขียนโดยปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์ ตีพิมพ์เมื่อปี 2558 ในวารสารจุลนิติของ สว. เอง แม้ว่าจะมีการใส่เชิงอรรถถึงงานของปณิธัศร์ไว้ด้านล่าง แต่เนื้อหาก็เหมือนเกือบทั้งหมด หรือในหน้าที่ 66 ของดุษฎีนิพนธ์ก็มีการคัดลอกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Parliament Act 1911 จากงานของปณิธัศร์มาไว้ด้วยอีกเช่นกัน
.
ยังพบอีกว่ามีการคัดลอกเนื้อหาในหน้า 72-73 จากหน้าที่ 117-119 ในวิทยานิพนธ์ของวัชรพล โรจนวงรัตน์ “รูปแบบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2560 โดยมีการใส่เชิงอรรถไว้ด้านล่าง แต่ก็มีเนื้อหาเหมือนกันคำต่อคำ
.
ลอกงาน iLaw
.
ดุษฎีนิพนธ์ของสมชายมีการอ้างถึงงานของ iLaw ด้วย โดยเป็นบทความ “รวมข้อมูล 250 สว. ‘แต่งตั้ง: กลไกหลักสืบทอดอำนาจจากยุค คสช.’” ซึ่งมีการอ้างถึงสถิติของ สว. ที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าประกอบด้วยบุคคลที่เคยรับตำแหน่งในยุค คสช. โดยมีเนื้อหาเหมือนกันทุกคำ ไม่มีการปรับเปลี่ยนคำใหม่ เพียงแต่มีการตัดรายชื่อของ สว. ที่บทความยกตัวอย่างให้เห็นเท่านั้น เช่น ปรีชา จันทร์โอชา, อภิรัชต์ คงสมพงษ์, พรทิพย์ โรจนสุนันท์, คำนูณ สิทธิสมาน, วัลลภ ตังคณานุรักษ์
.
https://www.ilaw.or.th/articles/29527


ประธานฯวันนอร์ เผยไม่ยึดติดตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ยืนยันไม่ลาออก ต้องการรักษาเกียรติ-ศักดิ์ศรี ของรัฐสภา ให้เป็นไปตามวาระที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ยกเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ หมดวาระหรือลาออก

https://www.youtube.com/watch?v=xEuVs6Hm90E

ประธานฯวันนอร์ เผยไม่ยึดติดตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ต้องรักษาเกียรติ-ศักดิ์ศรี ของรัฐสภา

Bright TV

8 hours ago 
#ประธานสภา #วันนอร์ #ปรับครม
.....

The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
12h·

"ยืนยันผมไม่ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ต้องการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติไว้ ต้องการธำรงไว้ซึ่งหลักการเพื่อให้ประชาธิปไตยของไทยเดินไปข้างหน้า"
วันที่ 18 เมษายน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาฯ ให้สัมภาษณ์กรณีมีกระแสข่าวจะมีการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งประธานสภาฯ เพื่อใช้รองรับการปรับคณะรัฐมนตรีให้ลงตัวว่า ส่วนตัวไม่ยึดติดตำแหน่งแห่งหน การเป็นประธานสภาฯ ครั้งแรก ตนก็ลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ให้พรรคเดินหน้า ให้ทุกอย่างลงตัวโดยไม่มีใครมากดดัน และการเป็น ส.ส.ตอนปี 62 ตนก็ลาออกจากการเป็น ส.ส.เพื่อให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคในขณะนั้นได้เข้ามาเป็น ส.ส.เพราะ พ.ต.อ.ทวี ทุ่มเทให้กับพรรคและมีอนาคตในเส้นทางการเมือง ก็จะได้ประสบการณ์การทำงานสภาฯ ก่อนได้ตำแหน่งรัฐมนตรี
.
ยืนยันตนไม่ยึดติด ตนไม่อยากให้ฝ่ายนิติบัญญัติถูกแทรกแซงจากฝ่ายใด เนื่องจากตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลักประชาธิปไตย ที่ฝ่ายอื่นจะเข้ามาแทรกแซงไม่ได้ จึงมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าตำแหน่งดังกล่าวต้องเป็นกลาง ไม่มีพันธะกับพรรคการเมือง ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรค และตำแหน่งที่ตนได้รับก็มาจากการที่มีคนเสนอชื่อตน และสมาชิกโหวตเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่
.
“ถ้ามีการแทรกแซงให้ผมลาออก สภาฯ ก็จะไม่ใช่สภาฯ การปรับคณะรัฐมนตรีเป็นอำนาจของนายกฯ ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อยู่ในวาระที่กำหนดไว้ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ยกเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ หมดวาระหรือลาออก ยืนยันผมไม่ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ต้องการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติไว้ ต้องการธำรงไว้ซึ่งหลักการเพื่อให้ประชาธิปไตยของไทยเดินไปข้างหน้า” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว
#ThePolitics

สำนวนไทย หมาเห่าใบตองแห้ง

https://www.youtube.com/watch?v=Ml-VSiyfRQc
ลีลาสุภาษิต - หมาเห่าใบตองแห้ง

SAMSERN OFFICIAL

May 31, 2022
.....
Pai Jatupat
4h·

หมาเห่าใบตองแห้ง เป็นสำนวน มีความหมายว่า พูดเอะอะแสดงวาจาว่าเป็นคนเก่งกล้าไม่กลัวใคร แต่จริง ๆ แล้วขี้ขลาดและไม่กล้าจริง
Cr. พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน